วันอาทิตย์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

I'm Back!!!

สวัสดีครับ หลังจากที่ผมปล่อยบล็อคให้ร้างเป็นเวลานานถึง 77 วันเลยทีเดียว จริงแล้วผมก็ไม่ได้หายไปไหนหรอกครับ แค่ตอนนั้นเป็นช่วงปิดเทอม ซึ่งผมก็ได้ทำกิจกรรมต่างๆมากมาย กว่าจะรู้ตัวอีกทีก็เหลือเวลาไม่ถึงอาทิตย์ก็เปิดเทอมซะแล้ว (จริงๆแล้วก็ขี้เกียจด้วยอะแหละ อิอิ) สำหรับโพสต์นี้ผมก็จะมาอัพเดทกันให้ฟัง.. อ่านว่าผมไปทำอะไรมาบ้างนะครับ เอาล่ะ มาเริ่มกันเลยดีกว่าครับ



กิจกรรมแรกที่ผมได้ไปทำนั้นก็คือ การจัดค่ายกิฟเต็ดของโรงเรียนครับ ซึ่งเป็นค่ายสำหรับเด็กนักเรียนกิฟเต็ด หรือนักเรียนผู้มีความสามารถพิเศษทางวิชาการของโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนครับ โดยจัดให้นักเรียนชั้น ม.1-3 และจัดโดยนักเรียนชั้น ม.4-6 ครับ 


ค่ายนี้ให้อะไรหลายๆอย่างกับผมและเพื่อนครับ ทั้งประสบการณ์ในการทำงาน ประสานงาน วางแผน รวมไปถึงการรู้จักแคร์คนรอบข้างด้วยครับ



หลังค่ายกิฟเต็ดก็จะเป็นค่าย สอวน.คอม ครับ ซึ่งย่อมาจาก "มูลนิธิส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการและพัฒนามาตรฐานวิทยาศาสตร์ศึกษาในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์" โดยมี 5 สาขาวิชา คือ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา คณิตศาสตร์ และคอมพิวเตอร์ครับ สำหรับในค่ายแรกจะเป็นค่ายแบบไปเช้าเย็นกลับครับ โดยผมไปเข้าค่ายที่ศูนย์สามเสนครับ เป็นศูนย์ที่ดีมากๆเลยครับ มีอาหารกลางวันกับอาหารว่างให้ด้วย 555555 ในค่ายก็จะเรียนเกี่ยวกับภาษาคอมพิวเตอร์ที่มีชื่อว่าภาษา C ครับ แล้วก็มีเรียนเลขที่เกี่ยวกับคอมนิดหน่อยครับ


ค่ายนี้ให้อะไรผมหลายๆอย่างเช่นกันครับ ผมชอบหลายๆอย่างในค่ายนี้มาก แต่มีอย่างนึงที่ผมชอบมากที่สุดคือ คำปฎิญาณข้อหนึ่งของค่ายครับ คือก่อนที่จะเริ่มเรียนจะมีการสวดมนต์ กล่าวคำปฎิญาณ แล้วก็นั่งสมาธิครับ แต่ที่พีคที่สุดก็คือคำปฎิญารข้อหนึ่งที่ว่า "ข้าพเจ้าจะใช้วิชาการเขียนโปรเเกรมคอมพิวเตอร์เพื่อสันติสุขของโลก" หรือแปลง่ายๆว่า หนูจะไม่ไปแฮคใครง้าบบบ



และสุดท้ายที่เพิ่งผ่านมาสดๆร้อนเลยนั่นก็คือ CU Open House หรือ เปิดเรือนเยือนจุฬานั่นเองครับ ซึ่งในงานก็มีหลากหลายคณะให้เลือกชม เช่น วิศวกรรมศาสตร์ แพทยศาสตร์ อักษรศาสตร์ และอื่นๆอีกมากมายครับ 


โดยงานนี้จัดในวันที่ 15-17 พฤศจิกายน ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยครับ ยังเหลืออีก 2 วัน ใครที่ยังไม่รู้ว่าตัวเองอยากเรียนอะไรก็สามาถไปกันได้นะครับ 



สำหรับโพสต์นี้ก็มีเท่านี้แหละครับ แค่อยากจะมาเเชร์ประสบการณ์ของผมที่ผ่านๆมา อาจจะน่าเบื่อบ้างก็ของอภัยมา ณ ที่นี้ด้วยนะครับ ผมรับรองเลยว่าหลังจากนี้จะพยายามอัพให้บ่อยขึ้น และหาเรื่องที่น่าสนใจมานำเสนอเรื่อยๆ มีสาระบ้าง ไร้สาระบ้างปนๆกันไปครับ ขอคุณครับบบ

วันอาทิตย์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ทฤษฎีผีเสื้อขยับปีก (Butterfly Effect)

หลายคนอาจจะเคยได้ยินสำนวนที่ว่า "น้ำผึ้งหยดเดียว" หรือวลีที่ว่า "เด็ดดอกไม่สะเทือนถึงดวงดาว" ซึ่งทั้งสองอย่างที่กล่าวมานั้น หมายถึง สิ่งเล็กๆที่ดูแล้วไม่น่าจะทำให้เกิดอะไรได้ แต่มันกลับส่งผลกระทบที่ยิ่งใหญ่มากๆ ดั่งเช่น ผีเสื้อธรรมดาตัวนึงกระพือปีก แม้จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของบรรยากาศแค่นิดเดียว แต่ภายหลังมันอาจก่อให้เกิดพายุทอร์นาโดได้นั่นเอง



สำหรับที่มาของชื่อ Butterfly Effect จริงๆแล้วนั้น ไม่ได้มาจากผีเสื้อกระพือปีก "พับ พับ พับ" แล้วเกิดเป็นพายุทอร์นาโดแบบรูปข้างบนหรอกครับ แต่หมายถึงสมการคำนวณทางคณิตศาสตร์ ของศาสตราจารย์ Edward N. Lorenz ที่แสดงผลเป็นกราฟรูปผีเสื้อนั่นเองครับ


ซึ่งนายเอ็ดเวิร์ดเนี่ย เขาเป็นนักคณิตศาสตร์กับนักอุตอนิยมวิทยาครับ โดยความบังเอิญก็คือเขาได้ออกแบบและจำลองคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในการพยากรณ์อากาศ เมื่อปี ค.ศ.1961 เวลาจะคำนวณข้อมูลเพื่อพยากรณ์อากาศ เขาจะต้องกรอกตัวเลขเพื่อคำนวณ เมื่อเขาต้องการดูผลพยากรณ์ซ้ำ จึงต้องคำนวณอีกครั้ง แต่ครั้งนี้เขาไม่อยากเสียเวลาจากการกรอกตัวเลขซ้ำๆ ทศนิยมหลายๆ หลัก จึงใช้ตัวเลขที่ได้บันทึกไว้ลงในแบบจำลองมาใช้อีกรอบและตัดเศษทศนิยมทิ้งไปให้เป็นตัวเลขสั้นๆ จาก 0.506127 เป็น 0.506 เพื่อให้คำนวณได้เร็วขึ้น ซึ่ง 0.000127 เป็นตัวเลขที่น้อยมากเพียงแค่หนึ่งในหมื่นเท่านั้นเอง แต่พอกลับไปดูผลการจำลองสภาพอากาศ ปรากฏว่าสภาพอากาศที่ออกมาครั้งแรกกับครั้งที่สองแตกต่างกันมากๆแบบสุดขั้วเลยครับ แบบไม่น่าเกิดจากการปัดเลขหนึ่งในหมื่นทิ้งไปอะครับ


อ่านมาถึงตอนนี้ หลายๆคนคงจะพอเข้าใจเกี่ยวกับทฤษฎีนี้แล้วนะครับ เอาล่ะ ในเมื่ออธิบายด้านวิทยาศาสตร์ไปแล้ว ลองมาดูด้านของคณิตศาสตร์กันบ้างดีกว่าครับ ครูท่านหนึ่งที่ประเทศญี่ปุ่นติดสมการไว้หน้าห้องเรียน โดยเป็นการเปรียบเทียบการยกกำลังของเลข 2 จำนวน นั่นก็คือ 1.01 กับ 0.99


เลขสองจำนวนนี้ มีความแตกต่างกันเพียงแค่ 0.02 เท่านั้น แต่ผลลัพธ์ที่ได้มานั้นกลับแตกต่างกันลิบลับ

จากทฤษฎีนี้ แสดงให้เห็นว่า สิ่งต่างๆที่เราไม่คิดว่าจะมีผลอะไร แต่ในวันใดวันหนึ่งมันอาจจะส่งผลต่อชิวิตเราอย่างใหญ่หลวงก็ได้ เพราะฉนั้นเวลาจะคิดหรือทำอะไรก็ขอให้รอบคอบกันให้มากๆด้วยนะครับ เพื่อลดความเสี่ยงของผลกระทบต่างๆในอนาคต


ทฤษฎีความอลวน (Chaos Theory)

หลังจากปล่อยให้บล็อคร้างมา1อาทิตย์เพราะความขี้เกียจ เอ้ย เพราะงานยุ่งมากกกก แต่อาทิตย์นี้ผมกลับมาแล้วครับ กลับมาพร้อมกับทฤษฎีที่น่าสนใจถึง2ทฤษฎีเลยทีเดียว เอาล่ะ ไม่พูดพร่ำทำเพลง เรามาเริ่มกันเลยดีกว่าครับ

Chaos Theory ที่มีชื่อไทยว่า ทฤษฎีความอลวน หรือ ทฤษฎีความไร้ระเบียบ หรือ ทฤษฎีความโกลาหล หรืออะไรก็ช่างมันเหอะครับ เอาเป็นว่าเรามาเริ่มที่คลิปนี้กันดีกว่าครับ


โดย Chaos Theory เป็นทฤษฎีที่อธิบายถึงลักษณะพฤติกรรมของระบบพลวัต (คือ ระบบที่มีการเปลี่ยนแปลง เช่น เปลี่ยนแปลงตามเวลาที่เปลี่ยนไป) โดยลักษณะการเปลี่ยนแปลงของระบบที่เรียกว่าเคออสนี้ จะมีลักษณะที่ปั่นป่วนจนดูคล้ายว่า การเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นแบบสุ่มหรือไร้ระเบียบ (random/stochastic) แต่จริง ๆ แล้ว ระบบเคออสนี้เป็นระบบแบบไม่สุ่ม หรือระบบที่มีระเบียบ (deterministic) สำหรับตัวอย่างที่เราน่าจะคุ้นเคยกันก็น่าจะเป็น Brownian Motion นั่นเองครับ



ในทางคณิตศาสตร์และฟิสิกส์ คำจำกัดความของระบบเคออส คือ ระบบไม่เชิงเส้น (nonlinear system) ประเภทหนึ่ง ที่มีความไวต่อสภาวะเริ่มต้น กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ถ้าระบบ 2 ระบบนั้นเริ่มต้นจากสภาวะที่แตกต่างกันเพียงเล็กน้อย คือเกือบจะเหมือนกันทุกประการ เมื่อระบบได้มีการเปลี่ยนไปสักระยะหนึ่ง สภาวะของระบบทั้งสองที่เราสังเกตได้เมื่อเวลาผ่านไปจะแตกต่างกันอย่างสังเกตเห็นได้ชัด ตัวอย่างที่สามารถอะิบายได้อย่างชัดเจนนั่นก็คือ double pendulum ที่เมื่อเราเปลี่ยนองศาเพียงนิดเดียวแต่ทำให้รูปแบบการเหวี่ยงเปลี่ยนไปจากเดิมโดยสิ้นเชิง


สรุปก็คือ Chaos Theory นั้นอธิบายถึงการเกิดของเหตุการณ์ต่างๆที่มีค่าตั้งต้นที่ต่างกันนิดเดียว แต่ทำให้ผลลัพธ์ต่างกันอย่างมาก เช่นตัวอย่าง N-body Gravitational problem ที่มีดวงอาทิตย์สองดวงและ มีดาวเคราะห์สองดวงสีแดงกับสีเขียว ซึ่งตอนเริ่มต้นดาวเคราะห์สองดวงนี้อยู่ใกล้กันมากๆ แทบจะเป็นจุดเดียวกันเลย แต่พอเวลาผ่านไปไม่นานตำแหน่งของดาวเคราะห์สองดวงนี้ต่างกันอย่างสิ้นเชิง ดาวสีแดงพุ่งไปทางดวงอาทิตย์ที่ 1 ดาวสีเขียวอยู่กับดวงอาทิตย์ที่ 2 นี่เป็นระบบที่แสดงคุณสมบัติ chaos ชัดเจนครับ

สำหรับใครที่อยากลองเล่น Simulator นี้ก็เข้าไปได้ที่นี่เลยครับ

สำหรับเรื่องต่อไปผมจะเข้าสู่เรื่องของ Butterfly Effect ครับ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ Chaos Theory นั่นเองครับ 

วันอาทิตย์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence)

วันอาทิตย์ 1 วันหลังงานวันเกิดโรงเรียน BCC163rd Anniversary ในเวลาตอนบ่ายๆ ที่ผมตื่นขึ้นมา หลังจากการสลบไปเป็นเวลาเกือบๆ 12 ชั่วโมง จากความเหนื่อยล้าในการทำงาน และจากคอนเสิร์ต ผมรู้สึกขี้เกียจทำการบ้าน ขี้เกียจอ่านหนังสือ ผมก็เลยเปิดคลังหนังของตัวเอง แล้วก็ได้ไปเจอกับหนังเรื่องหนึ่งที่โหลดทิ้งไว้นั่นก็คือเรื่อง "Her" ซึ่งเป็นเรื่องราวของโลกอนาคตที่ผู้คนต่างฝากชีวิตไว้กับเทคโนโลยี ธีโอดอร์ นักเขียนหนุ่มที่เพิ่งเลิกกับแฟนสาวไปหมาดๆ เวลาไม่ได้ช่วยอะไรเขาเลย แต่เวลากลับทำร้ายจิตใจของเขาให้เจ็บช้ำไปมากกว่าเดิม เชาใช้ชีวิตอย่างไรจุดหมาย จนกระทั่ง วันหนึ่งเขาได้สั่งซื้อระบบปฏิบัติการอัจฉริยะที่มีชื่อว่า "OS1" เป็นระบบปฏิบัติการที่ตั้งโปรแกรมให้มีผู้ช่วยที่แสนฉลาด และมีความคิดที่ใกล้เคียงมนุษย์มากที่สุด เธอมีชื่อว่า ซาแมนต้า และเธอก็ได้รับใช้ธีโอดอร์อย่างเต็มที่ รวมถึงการเป็นเพื่อนแก้เหงาของเขา เมื่อเวลาผ่านไปเขามีความรู้สึกแปลกๆ เกิดขึ้นกับผู้ช่วยอิเล็กโทรนิคคนนี้ ทั้งๆ ที่เขาเองก็ไม่เคยเห็นหน้าเธอ ได้ยินเพียงแค่เสียง ในขณะที่เธอเองก็ได้พัฒนาความคิดของเธอเองอย่างต่อเนื่อง เริ่มมีความรู้สึกนึกคิดที่เหมือนมนุษย์มากขึ้น และเกิดความรู้สึกที่ประหลาดๆ นี้เช่นกัน
ความเหงาและความสับสนในใจ จะก่อให้เกิดเป็นความรักที่แปลกประหลาดแต่ไร้ข้อจำกัดนี้ไปได้หรือไม่


หลังจากที่ได้ดูหนังเรื่องนี้แล้ว ผมก็ได้คิดว่า ไอ้AI หรือในคำศัพท์บัญญัติที่แปลว่า "ปัญญาประดิษฐ์" เนี่ย มันคืออะไร ผมก็เลยไปหาไรกิน แล้วก็กลับมาหาข้อมูลที่เกี่ยวกับ AI และสรุปคร่าวๆได้ว่า


ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence หรือ AI) คือ การพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ ให้มีพฤติกรรมเหมือนคน โดยเฉพาะความสามารถในการเรียนรู้และความสามารถทางประสาทสัมผัสซึ่งเลียนแบบการเรียนรู้และการตัดสินใจของมนุษย์ หรือว่าง่ายๆก็คือ "ระบบโง่ๆ ที่ถูกทำให้มีความใกล้เคียงตวามเป็นมนุษย์มากที่สุด"


ได้มีการนำ AI มาใช้เป็นครั้งแรกในช่วงกลางทศวรรษที่ 1950 โดย John McCarthy มีลักษณะเป็นตัวประมวลโปรแกรมการใช้งาน (Software Processor) ซึ่งทำงานภายใต้สัญลักษณ์ และเครื่องหมายมากกว่าเรื่องของตัวเลข โดย AI พัฒนามาจากหลายสาขาวิชา ประกอบด้วย 
  1. สาขาวิชาคณิตศาสตร์จะเกี่ยวข้องกับเรื่องการพิสูจน์ทฤษฏีต่าง ๆ และในการแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อนด้านเกมต่าง ๆ เช่น การเล่นโอเอกซ์ (O,X) หมากรุกฝรั่ง 
  2. สาขาจิตวิทยาในเรื่องการฟังและการวิเคราะห์ปัญหาทางจิต ซึ่งการพัฒนาสิ่งดังกล่าวเกิดขึ้นโดยผ่านผู้เชี่ยวชาญ (Experts)



โดย AI สามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ
  1. Artificial Narrow Intelligence (Weak AI)
  2. Artificial General Intelligence (Strong AI)
  3. Artificial Superintelligence
ซึ่งผมก็มีคลิปที่อธิบายเกี่ยวกับประเภทของ AI มาให้ดูกันครับ





วันอาทิตย์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2558

The Change Company

อ่านเรื่องที่ดูเป็นวิทยาศาสตร์มาก็เยอะแล้ว สำหรับในweekนี้ ผมขอเสนอเรื่องเกี่ยวกับซีรีส์ที่ผมชื่นชอบเป็นพิเศษกันดีกว่าครับ นั่นก็คือเรื่อง...



"The Change Company" หรือ "ฝัน เปลี่ยน โลก" คือชื่อของซีรีส์เรื่องหนึ่ง ที่ออกอากาศผ่านทางช่อง Thaipbs เป็นเรื่องเกี่ยวกับเด็กมหาลัยคนหนึ่ง ที่คิดอยากจะ "เปลี่ยน" แต่สิ่งที่เด็กคนนี้อยากจะเปลี่ยน ไม่ใช่แค่เปลี่ยนแปลงตัวเอง หรือเปลี่ยนผ้าอ้อมเด็กทารก แต่เป็นการเปลี่ยนแปลงประเทศ โดยเริ่มจากในมหาลัยที่เขาเรียนอยู่ก่อน เรื่องราวจะเป็นอย่างไร ติดตามได้ใน The Change Company ฝัน เปลี่ยน โลก


สำหรับเรื่องนี้ ผมได้ไปเจอจากในเพจ รับน้องสร้างสรรค์ ซึ่งได้โพสต์คลิปเกี่ยวกับเด็กปี 1 ที่ไม่เห็นด้วยกับการรับน้องแบบโซตัส จึงได้ทำการต่อต้าน และคลิปนี้ก็เป็นส่วนหนึ่งของ EP.1 ในเรื่อง ซึ่งเป็นจุดเรื่องต้นของการ "เปลี่ยน" นั่นเอง


ตัวเอกของเรื่องชิ่อ "ต้น" ต้นเติบโตมาในครอบครัวที่มีพ่อเป็นนักการเมือง และกำพร้าแม่ตั้งแต่เด็กๆ ต้นถูกพ่อสอนให้มองโลกตามความจริง ถูกก็ว่าถูก ผิดก็ว่าผิด ต้นเรียน กศน. และสอบเทียบเข้ามาในมหาลัยที่มีชื่อว่า มหาวิทยาลัยราษฏร ในคณะสังคมศาสตร์ และสิ่งแรกที่ต้นคิดจะเปลี่ยน นั่นก็คือ มหาวิทยาลัยราษฎร แห่งนี้ นี่เองงง 



แต่การที่คิดจะทำการใหญ่ สิ่งที่ขาดไม่ได้เลยก็คือ "เพื่อน" มีประโยคหนึ่งในซีรีส์ได้กล่าวไว้ว่า "เพราะการเปลี่ยนแปลงไม่สามารถทำได้โดยตัวคนเดียว" จึงเป็นจุดเริ่มต้นของกลุ่มเล็กๆ ที่ชื่อว่า "The Change Company" กลุ่มของคนที่ต้องการจะ "เปลี่ยน"



ซึ่งมหาลัยแห่งนี้มีอะไรไม่ชอบมาพากลภายในอยู่ และเมื่อ The Change Company คิดจะทำอะไร มักจะมีอำนาจภายในมาแทรกแซงอยู่เสมอ เหล่า The Change Company จึงต้องต่อสู้กับการเมืองภายในมหาลัย เรื่องราวจะเป็นอย่างไร โปรดติดตามได้ใน The Change Company ฝัน เปลี่ยน โลก ทาง Youtube Channel Wakeup Rabbit แล้ววันนี้



คุณจะอยู่เฉยๆ... หรือสู้เพื่อเปลี่ยนแปลง แล้วโตเป็นผู้ใหญ่ในแบบที่เราอยากเป็น


ติดตามพวกเขาได้ทาง https://www.facebook.com/thechangecompanyseries
สำหรับวันนี้ลาไปก่อย สวัสดีคนับ...

วันจันทร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2558

Esports คืออะไร

กีฬา กีฬา เป็นยาวิเศษ
กีฬามีมากมายหลายประเภท ทั้งในร่ม กลางแจ้ง แต่ในบทความนี้ ผมจะพูดถึงกีฬาที่เล่นในร่ม แต่ไม่ถือว่าเป็นกีฬาในร่ม นั่นก็คือ กีฬา Esports นั่นเอง ซึ่งถ้าพูดให้เข้าใจกันง่ายๆก็คือ "แข่งเกม" นั่นแหละครับ



หลายๆคนอาจจะนึกไม่ถึงว่า แค่การที่นั่งหน้าคอม เล่นแต่เกมมันจะสามารถเล่นเป็นอาชีพได้จริงหรือ เราจะมาหาคำตอบไปพร้อมๆกันคนับ...



จริงๆแล้ว ไอการแข่งขัน Esports เนี่ยมันมีมานานแล้วครับ ตั้งแต่ยุคของเกม Ragnarok, Warcraft, Starcraft และอื่นๆ แต่ในสมัยก่อน ยังไม่มีการเปิดกว้าง และมูลค่าของเงินรางวัลยังคงน้อยอยู่ การเเข่งเกมจึงเป็นเพียงแค่ อาชีพเสริม หรืองานอดิเรก ที่ทำไปควบคู่กับอาชีพหลักเท่านั้น แต่เมื่อไม่นานมานี้ วงการ Esports ได้มีการเปิดกว้างมากขึ้น อาจจะมีผลจาก เกมที่มีผู้เล่นสนใจมากขึ้น และมีผู้ลงทุนที่สนใตในการลงทุนเกี่ยวกับวงการเกมมากขึ้น ซึ่งจะเห็นได้ชัดในประเทศหลายๆประเทศ เช่น อเมริกา จีน เกาหลี และหลายๆประเทศในโซนยุโรป ที่ได้มีการจัดแข่งขันกันแบบจริงจังมากขึ้น และเงินรางวัลที่มากขึ้น ในบางงานอาจจะมากกว่าเงินรางวัลของการแข่งขันกีฬาอื่นๆอีกด้วย


จากกราฟจะเห็นได้ว่า เงินรางวัลที่มากที่สุด เป็นของการแข่งขันเกม Dota 2 ในงาน The International 4 ซึ่งจัดขึ้นในปี 2014 โดยได้มีการขายไอเท็มในเกมโดยส่วนหนึ่งจะไปเป็นเงินรางวัลของ Tournament นี้ จะเห็นได้ว่า มีมากถึง 6.2 ล้านดอลลาร์ แต่ในกราฟยังเป็นตัวเลขที่ยังไม่ได้สรุป ซึ่งเลขที่สรุปออกมามีมูลค่ากว่า 10.93 ล้านดอลลาร์ และในปีนี้ ก็ได้มีการจัดขึ้นอีกครั้ง เป็นครั้งที่ 5 ซึ่ง ณ ปัจจุบัน เงินรางวัลรวมมีมูลค่า 18 ล้านดอลลาร์ ซึ่งมากกว่าของปีที่แล้วกว่าเท่าตัว แสดงให้เป็นถึงการเติบโตของวงการ Esports ทั่วโลก ยังไม่นับรวมของเกมอื่นๆ เช่น Starcraft II, League of Legends, Counter Strike : Global Offensive, FIFA และอื่นอีกมากมาย ที่มีการแข่งขันตลอดปี รวมทั้งมีสปอนเซอร์ที่คอยสนับสนุนทีมต่างๆด้วย


ด้วยสาเหตุเหล่านี้ ทำให้มีเหล่านักเล่นเกมเป็นจำนวนมาก ลาออกจากงานที่ทำอยู่ประจำ แล้วหันมาเล่นเกมเป็นอาชีพ แต่ก็ไม่ใช่ทุกคนที่จะประสบความสำเร็จเสมอไป นักกีฬาต้องหมั่นฝึกซ้อม พัฒนาฝีมือตลอดเวลา และยังต้องมีวินัยอย่างมากอีกด้วย และนอกจากนี้ อาชีพนักกีฬา Esports ก็ยังถือว่าเป็นอาชีพที่มีความเสี่ยงสูง ซึ่งแปรผันตรงกับผลตอบแทนที่สูงด้วยเช่นกัน และยังมีช่วงเวลาของอาชีพที่สั้น เพราะเมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น ประสาทสัมผัสต่างๆ จะไม่รวดเร็วเท่าตอนอายุน้อยๆ ประกอบกับมีเด็กรุ่นใหม่ที่มีฝีมือดีกว่า ซึ่งอาจจะทำให้ต้องรีไทร์ หรือ เลิกเล่น ไปเลยก็ได้



ในประเทศไทยถึงแม้การเล่นเกมอาจจะยังไม่ได้รับการตอบรับที่ดีเท่ากับในต่างประเทศ แต่เมื่อเทียบกับในสมัยก่อนแล้ว ถือว่ามีการพัฒนาเพิ่มขึ้นมาก ก็ต้องติดตามกันต่อไป ว่าวงการ Esports ไทย จะไปวงการ Esports โลกได้หรือไม่....




วันอาทิตย์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

มิติควอนตัม (Quantum Realm)

คำเตือนนนนนนนน : บทความนี้มีเนื้อหาสปอยล์ Ant-Man หากใครยังไม่ได้ดูแล้วยังไม่อยากถูกสปอลย์จงเลื่อนเมาส์ไปกดปุ่มตรงขวาบนโดยด่วนนนนนน



เมื่อวันพุธที่ผ่านมาผมและเพื่อนๆก็ได้ไปดูภาพยนตร์เรื่อง Ant-Man มา ซึ่งเป็นหนังซุปเปอร์ฮีโรที่โคตรของความมุ้งมิ้งเลยฮะ หนังซุปเปอร์ฮีโรเรื่องอื่นๆสู้กันตึกถล่ม เมืองเละ โลกระเบิด แต่เรื่องนี้สู้กันแค่ของเล่นเด็กพัง



ซึ่งประเด็นที่ผมจะพูดนั้น เป็นฉากที่ Scott Lang (Ant-Man) ต้องเข้าไปในชุดของ Darren Cross (Yellow-Jacket) เพื่อปกป้องลูกสาวของเขา แต่ชุดของ Yellow-Jacket ทำจากไทเทเนียม Scott Lang จึงต้องใช้วิธีรบกวนสมดุลของชุด เพื่อที่จะทำให้ตัวของเขาสามารถย่อตัวให้เล็กจงจนเล็กกว่าอะตอมได้


ซึ่งในฉากนี้เเหละครับ เป็นฉากที่ Scott Lang ถูกย่อส่วนไปเรื่อยๆ จนเข้าไปใน มิติควอนตัม (Quantum Realm) โดยในหนัง Hank Pym ได้อธิบายให้ Scott Lang ฟังว่า คือมิติที่เวลาไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง ซึ่งมิติควอนตัมมีชื่อเรียงอย่างเป็นทางการจากท่างมาร์เวลว่า "Microverse"


แต่ในทางวิทยาศาสตร์ก็ได้มีการอธิบายเกี่ยวกับมิติควอนตัม ว่าเป็นมิติของโลกคู่ขนาน ซึ่งมีการอธิบายไว้ในบทความของ ASTV เรื่อง เผยเรื่องจริง “โลกคู่ขนาน” และ “มิติ” ที่ขดซ่อนตัว และ บทความของ วิชาการ.คอม เรื่อง เอกภพ คู่ขนาน (Parallel Universe) แล้วนะครับ


สำหรับใน week นี้ผมขอลาไปก่อยกับ Easter Egg ของเรื่อง Ant-Man ละกันนะคนับ... 


วันอาทิตย์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ไม่อยู่นะคนับ....


เนื่องจากวันที่17-20 กรกฎาคม ผมไปค่าย JPC ที่คณะ SIT บางมด ก็เลยไม่ว่างมาอัพบล็อค เดี๋ยวกลับมาแล้วจะมาเล่าประสบการณ์ที่ได้จากค่ายนี้กันคนับ ... ขอบคุณครับ


วันอาทิตย์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ทฤษฎีหงส์ดำ (Black swan theory)

ช่วงเย็นวันอาทิตย์ ในขณะที่ผมกำลังปวดหัวอยู่ว่าจะเอาอะไรไปยัดลงบล็อคของอาทิตย์นี้ดี ผมก็เลยเปิด Youtube หาแรงบันดาลใจตามแชนเเนลวิทย์ไปเรื่อยๆ ผมก็ได้มาสะดุดกับคลิปของเเชนเนล Veritasium ที่ผมเคยเอาคลิปของเเชนเเนลนี้มาลง เรื่อง กิ้งก่าคาเมเลี่ยนเปลี่ยนสีได้อย่างไร ซึ่งคลิปนี้ ไม่ได้เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์โดยตรง แต่เกี่ยวข้องกับจิตวิทยา ที่ว่าด้วยเรื่องของ ทฤษฎีหงส์ดำ พล่ามมาเยอะตั้งแล้ว เราไปดูคลิปที่ว่ากันเลยดีกว่าคนับ...


ซึ่ง ทฤษฏีหงส์ดำที่กล่าวไว้ในคลิปนั้น เป็นชื่อทฤษฎีทางอนาคตศึกษาซึ่งดังระเบิดเถิดเทิงของนาย Nicholas Nazim Taleb ออกหนังสือชื่อ "The Black Swan: The Impact of the Highly Improbable" เป็นหนังสือ Bestseller เล่มหนึ่งในสหรัฐอเมริกา ซึ่งสรุปคร่าวๆได้ว่า


มีภาษิตโบราณของตะวันตกกล่าวไว้ว่า "All Swans Are White" หรือ "หงส์ทุกตัวเป็นสีขาว!!" 
อ้าววววว แสดงว่าเมื่อก่อน เราไม่เคยรู้จักหงส์ดำกันหรอ ? 
คำตอบคือ ใช่ครับ เพราะ "หงส์ดำ" เพิ่งจะถูกค้นพบในทวีปออสเตรเลีย ในศตวรรษที่ 17 หรือ 400 กว่าปีที่แล้ว (ตรงกับสมัยอยุธยาตอนกลาง) เอง
ก็เลยกลายเป็นที่ฮือฮาครับ เพราะไม่เคยเห็นหงส์ดำกันมาก่อน ซึ่งหมายความว่า ความเชื่อที่เชื่อกันว่า "หงส์ต้องเป็นสีขาว" เป็นความเชื่อที่ผิดมาตลอด ผิดอย่างสิ้นเชิงเลยครับ



พูดง่ายๆก็คือ ความรู้เก่าๆ รวมทั้งสิ่งที่เกิดขึ้นมาก่อนแล้วนั้น อย่าเพิ่งด่วนสรุปหรือรีบร้อนเชื่อเร็วเกินไป เพราะอาจไม่เป็นประโยชน์ที่จะนำมาใช้สามารถพยากรณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้สิ่งที่ไม่เคยเห็น ไม่ได้แปลว่าจะไม่มีจริง สิ่งที่มองเห็น อาจเป็นผลที่เกิดขึ้นจากปัจจัยอื่นที่เราคิดไม่ถึง มองไม่เห็น บ่อยครั้งไม่รู้ด้วยซ้ำว่ามันมีอยู่จริงๆ

ผมจะขอยกประโยคหนึ่ง ซึ่งผมได้มาจากเพื่อนของผมที่ชื่อว่า ปุ้นนะครับ ปล.มันไปก็อปเขามา
"การพบเห็นหงส์สีขาวถึงหนึ่งพันครั้ง ไม่ได้เป็นข้อสรุปว่าหงส์สีดำไม่มีอยู่จริง เพราะการพบเห็นหงส์สีดำเพียงครั้งเดียวจะทำลายข้อสรุปนั้นในทันที"

 มีตัวเลขทางสถิติชี้ให้เห็นว่า มีเพียงโอกาส 1 ครั้งในรอบพันปีเท่านั้นที่ตลาดหุ้นจะเจอวิกฤตและถล่มอย่างหนัก แต่ในความเป็นจริง มันถล่มมามากกว่า 1 ครั้งในรอบร้อยปี
 (เป็นเพียงตัวเลขสมมติเฉยๆ จำเลขทางสถิติเป๊ะๆไม่ได้ แต่หลักการนี้แหละ)
 การที่เรายังไม่เคยเจอรักแท้ ก็ไม่ได้หมายความว่ารักแท้มันไม่มีอยู่จริง เพราะการเจอรักแท้เพียงครั้งเดียว จะทำให้เราเข้าใจคุณค่าของการเฝ้ารอมาตลอดชีวิต


ลาไปก่อยกับภาพยนตร์เเนว ดรามา ทริลเลอร์ เรื่อง Black Swan (2010) ซึ่งบอกได้เลยว่า "หลอนมากกก" อย่าลืมไปหามาดูกันให้ได้นะคนับ...

วันอาทิตย์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

อธิกวินาที ?

วันพุธที่ 1 กรกฎาคม ที่ผ่านมา วันธรรมดาๆวันหนึ่ง ที่ไม่ธรรมดา ไม่ใช่เพราะเป็นวันสภาปนาลูกเสือแห่งชาติ หรือเป็นวันชาติแคนาดา แต่เพราะเป็นวันที่ชาวโลกจะได้รับเวลาเพิ่มขึ้นมาฟรีๆ มาอีกตั้ง 1 วินาที โดยเราเรียกเวลาวินาทีที่เพิ่มมานี้ว่า "อธิกวินาที"



อธิกวินาที(leap second) คือ วินาทีที่ปรับเพิ่มขึ้นหรือลดลง เพื่อรักษามาตรฐานการประกาศเวลาให้ใกล้เคียงกับเวลาสุริยะ (UT1) โดยเฉลี่ย  การปรับอธิกวินาทีปัจจุบันควบคุมโดย International Earth Rotation and Reference Systems Service (IERS) 



ซึ่งบนโลกของเรามีนาฬิกาอยู่ 2 ระบบ คือ เวลาจากนาฬิกาอะตอม(TAI-Temps Atomique International) ที่ใช้หลักการแผ่รังสีของอะตอมซีเซียม อันเป็นคำนิยามของเวลา 1 วินาที ซึ่งเป็น 1 ใน 7 หน่วยฐานของระบบ SI ด้วย ความแม่นยำมีสูงมากนั่นคือในเวลา 200 ล้านปีจะคลาดเคลื่อนไม่ถึง 1 วิ



อีกระบบนึงคือเวลาสากล (UT-Universal Time) ที่ใช้อ้างอิงเวลาจากการหมุนรอบตัวเองของโลก โดยในหนึ่งวันจะมี 24 ชั่วโมง หรือ 86400 วินาที ซึ่งข้อดีของเวลานี้คือสังเกตง่าย เพราะมีตำแหน่งดวงอาทิตย์เป็นตัวสังเกต



แต่ว่าระยะหลังๆโลกหมุนรอบตัวเองช้าลง ทั้งจากแรงไทดัลกับดวงจันทร์ หรือแรงจากในโลกเองอย่างแผ่นดินไหว ส่งผลให้ในหนึ่งวันมีเวลาเฉลี่ยเพิ่มขึ้นราวๆ 2 millisecond หรือ 0.002 วินาที ซึ่งหากเป็นคนปกติมันน้อยมากจนแทบไม่มีความจำเป็นต้องใส่ใจ แต่หากเวลาเล็กน้อยนี่สะสมเรื่อยๆ ซักปีนึง เราก็จะได้เวลาเพิ่มมาราวๆ 0.7 วินาที



ด้วยสาเหตุนี้เอง เวลาสากลจึงช้ากว่าเวลาอะตอมเรื่อยๆ เพื่อให้เวลาในนาฬิกาทั้งสองตรงกัน จึงต้องทำวินาทีพิเศษหรือ Leap Second ขึ้นมาโดยจะทำการเพิ่มเวลาอีก 1 วิ เพื่อให้ความแตกต่างระหว่างทั้งสองนาฬิกาใกล้ 0 มากที่สุด โดยจะปรับในช่วงเวลากลางปี 30 มิถุนายน หรือปลายปี 31 ธันวาคมเท่านั้น



ในครั้งนี้จะทดเพิ่มในวันที่ 30 มิถุนายน 2015 ที่เวลาเที่ยงคืนของเวลาสากล(UT) คือ 23.59.60 ซึ่งจะปรับพร้อมกันทั่วโลก ดังนั้นในประเทศไทยจะปรับตอน 6.59.60 ในวันที่ 1 กรกฎาคม (+7 ชั่วโมง)



การปรับอธิกวินาที เกิดครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2515 และครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ 26 ในประวัติศาสตร์โลก ซึ่งหมายความว่า โลกได้หมุนช้าลง 26 วินาทีแล้ว



หลายๆคนอาจคิดว่า โว๊ะะะ ก็แค่ 1 วิ จะไปมีปัญหาอะไรกับชีวิตมากมายขนาดนั้นเลยหรือ อาจจะไม่ได้มีผลโดยตรงกับทุกคน แต่มีผลกับระบบคอมพิวเตอร์ ที่ไม่ได้ทำมาเพื่อรองรับระบบ leap second ถ้าเวลาไม่เพี้ยนก็จะ Error ไปเลย ซึ่งได้เกิดเหตุการณ์นี้เมื่อปี พ.ศ.2555 ทำให้บริการ Mozilla, Reddit, Foursquare, Yelp, LinkdIn เคยเกิดปัญหา แต่ปัจจุบัน พวกบริการต่างๆก็เตรียมการไว้อยู่แล้ว และบริการที่จะได้รับผลกระทบ ก็มีไม่มาก ระบบคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่ก็ใช้ Network Time Protocol คือ เวลาจะ sync กันกับ atomic clock อยู่แล้ว ก็ต้องมาดูกันว่าหลังปรับแล้ว บริการต่างๆ ด้านคอมพิวเตอร์จะได้รับผลกระทบหรือเปล่า

ลากันไปก่อยด้วยฉาก ของ Quick Silver กับเพลงประกอบ Time in a bottle จากเรื่อง X-men : Days of Future Past ละกันนะคนับ...


วันอาทิตย์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2558

สีรุ้ง สีรุ้งเต็มไปหมดเบยยย



เมื่อช่วงวันเสาร์ อาทิตที่ผ่านมา ได้เกิดกระแสการเปลี่ยนรูปโปรไฟล์เป็นสีรุ้ง พร้อมกับข้อความว่า Created with facebook.com/celebratepride สำหรับบางคนอาจจะยังไม่รู้ว่ามันคืออะไร วันนี้เราจะมาหาคำตอบกันครับ

ขอขอบคุณรูปภาพจากเพจ : POLANDBALL

โดยในวันศุกร์ที่ 26 มิถุนายน 2558 ที่ผ่านมาศาลสูงของทางสหรัฐอเมริกาได้มีการตัดสิน อนุญาตให้คู่รักเพศเดียวกันสามารถแต่งงานกันได้แล้ว นับเป็นก้าวสำคัญในการเปิดเสรีทางความรักของคนทุกกลุ่ม ไม่เพียงเฉพาะคู่รักหนุ่ม-สาว หากแต่รวมถึงกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBT) ด้วย


ขอขอบคุณรูปภาพจากเพจ : POLANDBALL


สำหรับ LGBT มีที่มาจากอักษรตัวแรกของคำว่า lesbian (เลสเบี้ยน), gay (เกย์), bisexual (ไบเซ็กชวล) และ transgender/transsexual (คนข้ามเพศ) ที่ได้รวมตัวกันเป็นหนึ่งภายใต้คำชื่อกลุ่ม LGBT สะท้อนถึงความหลากหลายทางเพศและการแสดงออกทางเพศในสังคม ซึ่งคำว่า LGBT มิได้หมายถึงเฉพาะกลุ่มคนรักร่วมเพศเท่านั้น แต่ยังรวมถึงเพศทางเลือกอื่น ๆ อย่างเลสเบี้ยน เกย์ ไบเซ็กชวล และคนข้ามเพศ 



ทั้งนี้สำหรับ "สีรุ้ง" สีสันแห่งความหลากหลายได้ถูกนำมาใช้เป็นสัญลักษณ์ของกลุ่ม LGBT รวมถึงการเคลื่อนไหวต่าง ๆ ของกลุ่มมานานกว่า 37 ปี ธงสีรุ้งซึ่งได้รับการออกแบบโดย กิลเบิร์ท เบเกอร์ ศิลปินจากซานฟรานซิสโก สหรัฐฯ ถูกนำมาโบกสะบัดขึ้นในการเคลื่อนไหวของกลุ่ม LGBT เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2521 ใน San Francisco Gay Freedom Day Parade ขบวนพาเหรดเพื่อระลึกถึง ฮาร์วีร์ มิลค์ นักการเมืองชาวเกย์ที่ถูกฆาตกรรม  ก่อนนำมาใช้ในกิจกรรมอื่น ๆ อย่างต่อเนื่องและถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายไปทั่วโลก ในฐานะธงแห่งความภาคภูมิใจของ LGBT นอกจากนี้ในบางครั้ง ธงสีรุ้ง ยังถูกนำมาใช้ในฐานะธงแห่งความสงบสุขด้วย


โดยพี่มารค ซัคเคอร์เบิร์ก ผู้ก่อตั้งเฟสบุ๊คก็ได้สร้างฟีเจอร์เล็กๆน้อยๆ เพื่อเป็นการร่วมแสดงฉลองด้วย ผ่านทางแอพพิเศษของเฟซบุ๊กในหน้า celebratepride ซึ่งจะช่วยเปลี่ยนภาพโปรไฟล์ของเราให้เป็นสีรุ้งอัตโนมัติ จึงเป็นที่มาของรูปโปรไฟล์สีรุ้งที่เห็นกันเต็มเฟสบุ๊คนั่นเองครับ

แต่พี่ไทยก็ยังไม่วาย พามาดราม่าจนได้ครับ เมื่อได้มีแอคเคาท์เฟสบุ๊ค แอคเคาท์หนึ่งโพสต์รูปภาพที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนรูปโปรไฟล์เฟสบุ๊ค โดยมีเนื้อหาดังนี้

ขอขอบคุณรูปภาพประกอบจาก : บันทึกของ ตุ๊ด

อาห์ แล้วดราม่านี้จะลงเอยเช่นไร #ผิดๆ



โดยในทวิตเตอร์ ก็ได้มีแอคเคาท์ ทวิตเตอร์ แอคเคาท์หนึ่งชื่อว่า @youdunnowho ได้พูดเกี่ยวกับกฎหมายนี้ได้ดีทีเดียวเลยละครับ ซึ่งบล็อคเกอร์ไม่สามารถลิงค์จากทวิตเตอร์มายังบล็อคได้ ผมก็เลยสรุปเป็นข้อความได้ว่า นอกจากการที่แต่งงานกันถูกต้องตามกฎหมายจะมีผลในทางทรัพย์สินแล้วก็ยังมีผลในด้านการตัดสินใจในการผ่าตัดต่างๆ รวมไปถึงการเซ็นอนุญาติปั๊มหัวใจ หรือแม้แต่เรื่องพินัยกรรมอีกด้วย ในความคิดของผมการอนุญาตกฎหมายนี้ถือเป็นก้าวสำคัญในการเปิดเสรีในด้านต่างๆให้เกิดความเท่าเทียมกันมากขึ้น แล้วคุณละครับ คิดอย่างไรกับกฎหมายนี้ ...

วันอาทิตย์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2558

Programming ?

เรามาพักเรื่องนิติเวชศาสตร์สักอาทิตย์ แล้วมาดูในเรื่องที่โรงเรียนส่วนใหญ่ไม่ได้สอนกันดีกว่าครับ :D


โดยในบทความนี้ ผมจะพูดถึงภาษาที่ถือว่าเป็นพื้นฐานในการเขียนโปรแกรมเลยก็ว่าได้ นั้นก็คือ ภาษา C ครับ 



ภาษา C เป็นภาษาที่ถือว่าเป็นทั้งภาษาระดับสูงและระดับต่ำ ถูกพัฒนาโดยเดนนิส ริดชี (Dennis Ritche) แห่งห้องทดลองเบลล์ (Bell Laboratories) ที่เมอร์รีฮิล มลรัฐนิวเจอร์ซี่ โดยเดนนิสได้ใช้หลักการของภาษา บีซีพีแอล (BCPL : Basic Combine Programming Language) ซึ่งพัฒนาขึ้นโดยเคน ทอมสัน (Ken Tomson) การออกแบบและพัฒนาภาษาซีของเดนนิส ริดชี มีจุดมุ่งหมายให้เป็นภาษาสำหรับใช้เขียนโปรแกรมปฏิบัติการระบบยูนิกซ์ และได้ตั้งชื่อว่า ซี (C) เพราะเห็นว่า ซี (C) เป็นตัวอักษรต่อจากบี (B) ของภาษา BCPL ภาษาซีถือว่าเป็นภาษาระดับสูงและภาษาระดับต่ำ ทั้งนี้เพราะ ภาษาซีมีวิธีใช้ข้อมูลและมีโครงสร้างการควบคุมการทำงานของโปรแกรมเป็นอย่างเดียวกับภาษาของโปรแกรมระดับสูงอื่นๆ จึงถือว่าเป็นภาษาระดับสูง ในด้านที่ถือว่าภาษาซีเป็นภาษาระดับต่ำ เพราะภาษาซีมีวิธีการเข้าถึงในระดับต่ำที่สุดของฮาร์ดแวร์ ความสามารถทั้งสองด้านของภาษานี้เป็นสิ่งที่เกื้อหนุนซึ่งกันและกัน ความสามารถระดับต่ำทำให้ภาษาซีสามารถใช้เฉพาะเครื่องได้ และความสามารถระดับสูง ทำให้ภาษาซีเป็นอิสระจากฮาร์ดแวร์ ภาษาซีสามารถสร้างรหัสภาษาเครื่องซึ่งตรงกับชนิดของข้อมูลนั้นได้เอง ทำให้โปรแกรมที่เขียนด้วยภาษาซีที่เขียนบนเครื่องหนึ่ง สามารถนำไปใช้กับอีกเครื่องหนึ่งได้ ประกอบกับการใช้พอยน์เตอร์ในภาษาซี นับได้ว่าเป็นตัวอย่างที่ดีของการเป็นอิสระจากฮาร์ดแวร์


ในความคิดของผม การเขียนโปรแกรมเป็นสิ่งที่จำเป็นเพราะมันช่วยพัฒนาให้เราเป็นคนที่มีความคิดเป็นระบบ เเละทำมันอย่างเป็นขั้นเป็นตอนอีกด้วย

วันอาทิตย์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2558

นิติเวชศาสตร์ 2

เมื่อวันอังคารที่ผ่านมาผมและเพื่อนๆ ได้ทำการทดลองเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีมาครับ โดยกลุ่มผมจะทำในเรื่องของพื้นที่ผิว วิธีการทดลองก็คือ นำชอลค์ (CaCO3 )ผสมกับกรดเกลือ (HCl) ซึ่งกลุ่มผมได้นำแบ่งชอล์คเป็น 3 ส่วน ส่วนแรกนำไปบดเป็นผง ส่วนที่ 2 หักครึ่ง และส่วนที่ 3 เป็นแท่งเหมือนเดิม แล้วสังเกตจากปริมาณของชอล์คที่ลดลงต่อหนึ่งหน่วยเวลา ผลการทดลองก็เป็นไปตามทฤษฎีครับ โดยชอล์คส่วนแรกที่นำไปบดเป็นผงจนละเอียด ซึ่งเป็นการเพิ่มพื้นที่ผิวให้กับสารตั้งต้น จะปฏิกิริยาได้เกิดเร็วที่สุด ตามมาด้วยส่วนที่ 2 และส่วนที่ 3 และในส่วนของการทดลองความเข้มข้นที่นำ โซเดียมไทโอซัลเฟต (Na2S2O3 ) ผสมกับกรดเกลือ (HCl) ซึ่งผลการทดลองคือ เเก้วที่มีความเข้มข้นมากที่สุด จะทำให้น้ำขุ่นเร็วมากที่สุด ส่งผลให้กากบาทหายไปเป็นอันดับเเรก

ลายนิ้วมือ




เรามาเข้าเรื่องของนิติเวชศาสตร์กันดีกว่าครับ :D เมื่อพูดถึงพื้นที่ผิวกับนิติเวชศาสตร์ ผมก็นึกถึงลายนิ้วมือที่เมื่อเราไปหยิบ จับ สิ่งของต่างๆแล้วติดอยู่กับสิ่งของนั้นๆ ซึ่งแม้จะไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า วิทยาศาสตร์ก็สามารถทำให้เราเห็นได้ครับ


โดยในคลิปมาจากซีรีย์ CSI:Vegas ซีซันที่2 ตอนที่ 20 เกี่ยวกับการตายของหญิงชราในบ้านที่เต็มไปด้วยแมวที่เธอเลี้ยง สาเหตุการตายมาจากการถูกแทงด้วยวัสดุเป็นแท่งยาว ทื่อ ซึ่งก็คือ ปากกาของเด็กที่อยู่ข้างบ้าน เจ้าหน้าที่จึงได้สอบสวนเด็กและอธิบายเกี่ยวกับเรื่องของลายนิ้วมือ

ซึ่งวิธีในการตรวจหาลายนิ้วมือนั้นมีหลากหลายวิธี วิธีที่ใช้กันบ่อยที่สุดก็คือ การใช้ผงฝุ่นเคมี โดยจะนำผงฝุ่นเคมีมาปัดด้วยแปรง เมื่อลายนิ้วมือปรากฏขึ้น ก็นำเทปมาแปะและเก็บเพื่อไปสำรวจหาผลต่อไป



แล้วก็ขอลาไปก่อยกับสารคดีเกี่ยวกับ AFIS หรือ ระบบตรวจสอบลายพิมพ์นิ้วมืออัตโนมัติ ของ KingCountryTV กันนะคนับ...





วันอาทิตย์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2558

นิติเวชศาสตร์ 1

ปัจจุบันวิทยาศาสตร์ได้มีส่วนสำคัญในชีวิตประจำวันของเรา ถ้าเราเคยดูข่าวอาชญากรรม งานทางด้านนิติเวชมีส่วนช่วยในการสืบสวน พิสูจน์หลักฐานอย่างมาก


ลูมินอล (Luminol)




ลูมินอลคือสารที่ถูกคิดค้นเพื่อตรวจสอบรอยเลือด ที่แม้จะถูกเช็ดหรือทำความสะอาดแล้ว สารที่อยู่ในเลือดก็จะยังคงอยู่ โดยสารชนิดนี้จะเข้าไปทำปฏิกิริยากับฮีโมโกลบินในเลือด ทำให้เกิดกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เรียกว่า Chemiluminescence 


นอกจากลูมินอลจะสามารถพิสูจน์ได้ว่ามีรอยเลือดหรือไม่แล้ว ผู้เชี่ยวชาญยังสามารถเห็นรูปร่างและลักษณะการกระจายของรอยเลือด เพื่อวิเคราะห์ว่าเกิดการฆาตกรรมในแบบใด โดยการกระจายของเลือดจากอาวุธต่างชนิดกันก็จะมีลักษณะแตกต่างกัน และในบางกรณีที่ฆาตกรเผลอเหยียบเลือดติดรองเท้าเดินไปไหนมาไหน ลูมินอลก็จะช่วยเผยให้เห็นทิศทางการเคลื่อนที่หรือลำดับขั้นของการฆาตกรรมได้


ตัวอย่างที่จะเห็นชัดคือในซีรีส์สืบสวนสอบสวนชื่อดังอย่าง CSI ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นเพราะมันช่วยทุ่นเวลาในการสืบหาความจริง รวมถึงช่วยให้ตำรวจปะติดปะต่อรูปคดีได้ง่ายขึ้น