วันอาทิตย์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

อธิกวินาที ?

วันพุธที่ 1 กรกฎาคม ที่ผ่านมา วันธรรมดาๆวันหนึ่ง ที่ไม่ธรรมดา ไม่ใช่เพราะเป็นวันสภาปนาลูกเสือแห่งชาติ หรือเป็นวันชาติแคนาดา แต่เพราะเป็นวันที่ชาวโลกจะได้รับเวลาเพิ่มขึ้นมาฟรีๆ มาอีกตั้ง 1 วินาที โดยเราเรียกเวลาวินาทีที่เพิ่มมานี้ว่า "อธิกวินาที"



อธิกวินาที(leap second) คือ วินาทีที่ปรับเพิ่มขึ้นหรือลดลง เพื่อรักษามาตรฐานการประกาศเวลาให้ใกล้เคียงกับเวลาสุริยะ (UT1) โดยเฉลี่ย  การปรับอธิกวินาทีปัจจุบันควบคุมโดย International Earth Rotation and Reference Systems Service (IERS) 



ซึ่งบนโลกของเรามีนาฬิกาอยู่ 2 ระบบ คือ เวลาจากนาฬิกาอะตอม(TAI-Temps Atomique International) ที่ใช้หลักการแผ่รังสีของอะตอมซีเซียม อันเป็นคำนิยามของเวลา 1 วินาที ซึ่งเป็น 1 ใน 7 หน่วยฐานของระบบ SI ด้วย ความแม่นยำมีสูงมากนั่นคือในเวลา 200 ล้านปีจะคลาดเคลื่อนไม่ถึง 1 วิ



อีกระบบนึงคือเวลาสากล (UT-Universal Time) ที่ใช้อ้างอิงเวลาจากการหมุนรอบตัวเองของโลก โดยในหนึ่งวันจะมี 24 ชั่วโมง หรือ 86400 วินาที ซึ่งข้อดีของเวลานี้คือสังเกตง่าย เพราะมีตำแหน่งดวงอาทิตย์เป็นตัวสังเกต



แต่ว่าระยะหลังๆโลกหมุนรอบตัวเองช้าลง ทั้งจากแรงไทดัลกับดวงจันทร์ หรือแรงจากในโลกเองอย่างแผ่นดินไหว ส่งผลให้ในหนึ่งวันมีเวลาเฉลี่ยเพิ่มขึ้นราวๆ 2 millisecond หรือ 0.002 วินาที ซึ่งหากเป็นคนปกติมันน้อยมากจนแทบไม่มีความจำเป็นต้องใส่ใจ แต่หากเวลาเล็กน้อยนี่สะสมเรื่อยๆ ซักปีนึง เราก็จะได้เวลาเพิ่มมาราวๆ 0.7 วินาที



ด้วยสาเหตุนี้เอง เวลาสากลจึงช้ากว่าเวลาอะตอมเรื่อยๆ เพื่อให้เวลาในนาฬิกาทั้งสองตรงกัน จึงต้องทำวินาทีพิเศษหรือ Leap Second ขึ้นมาโดยจะทำการเพิ่มเวลาอีก 1 วิ เพื่อให้ความแตกต่างระหว่างทั้งสองนาฬิกาใกล้ 0 มากที่สุด โดยจะปรับในช่วงเวลากลางปี 30 มิถุนายน หรือปลายปี 31 ธันวาคมเท่านั้น



ในครั้งนี้จะทดเพิ่มในวันที่ 30 มิถุนายน 2015 ที่เวลาเที่ยงคืนของเวลาสากล(UT) คือ 23.59.60 ซึ่งจะปรับพร้อมกันทั่วโลก ดังนั้นในประเทศไทยจะปรับตอน 6.59.60 ในวันที่ 1 กรกฎาคม (+7 ชั่วโมง)



การปรับอธิกวินาที เกิดครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2515 และครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ 26 ในประวัติศาสตร์โลก ซึ่งหมายความว่า โลกได้หมุนช้าลง 26 วินาทีแล้ว



หลายๆคนอาจคิดว่า โว๊ะะะ ก็แค่ 1 วิ จะไปมีปัญหาอะไรกับชีวิตมากมายขนาดนั้นเลยหรือ อาจจะไม่ได้มีผลโดยตรงกับทุกคน แต่มีผลกับระบบคอมพิวเตอร์ ที่ไม่ได้ทำมาเพื่อรองรับระบบ leap second ถ้าเวลาไม่เพี้ยนก็จะ Error ไปเลย ซึ่งได้เกิดเหตุการณ์นี้เมื่อปี พ.ศ.2555 ทำให้บริการ Mozilla, Reddit, Foursquare, Yelp, LinkdIn เคยเกิดปัญหา แต่ปัจจุบัน พวกบริการต่างๆก็เตรียมการไว้อยู่แล้ว และบริการที่จะได้รับผลกระทบ ก็มีไม่มาก ระบบคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่ก็ใช้ Network Time Protocol คือ เวลาจะ sync กันกับ atomic clock อยู่แล้ว ก็ต้องมาดูกันว่าหลังปรับแล้ว บริการต่างๆ ด้านคอมพิวเตอร์จะได้รับผลกระทบหรือเปล่า

ลากันไปก่อยด้วยฉาก ของ Quick Silver กับเพลงประกอบ Time in a bottle จากเรื่อง X-men : Days of Future Past ละกันนะคนับ...


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น