วันอาทิตย์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ทฤษฎีผีเสื้อขยับปีก (Butterfly Effect)

หลายคนอาจจะเคยได้ยินสำนวนที่ว่า "น้ำผึ้งหยดเดียว" หรือวลีที่ว่า "เด็ดดอกไม่สะเทือนถึงดวงดาว" ซึ่งทั้งสองอย่างที่กล่าวมานั้น หมายถึง สิ่งเล็กๆที่ดูแล้วไม่น่าจะทำให้เกิดอะไรได้ แต่มันกลับส่งผลกระทบที่ยิ่งใหญ่มากๆ ดั่งเช่น ผีเสื้อธรรมดาตัวนึงกระพือปีก แม้จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของบรรยากาศแค่นิดเดียว แต่ภายหลังมันอาจก่อให้เกิดพายุทอร์นาโดได้นั่นเอง



สำหรับที่มาของชื่อ Butterfly Effect จริงๆแล้วนั้น ไม่ได้มาจากผีเสื้อกระพือปีก "พับ พับ พับ" แล้วเกิดเป็นพายุทอร์นาโดแบบรูปข้างบนหรอกครับ แต่หมายถึงสมการคำนวณทางคณิตศาสตร์ ของศาสตราจารย์ Edward N. Lorenz ที่แสดงผลเป็นกราฟรูปผีเสื้อนั่นเองครับ


ซึ่งนายเอ็ดเวิร์ดเนี่ย เขาเป็นนักคณิตศาสตร์กับนักอุตอนิยมวิทยาครับ โดยความบังเอิญก็คือเขาได้ออกแบบและจำลองคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในการพยากรณ์อากาศ เมื่อปี ค.ศ.1961 เวลาจะคำนวณข้อมูลเพื่อพยากรณ์อากาศ เขาจะต้องกรอกตัวเลขเพื่อคำนวณ เมื่อเขาต้องการดูผลพยากรณ์ซ้ำ จึงต้องคำนวณอีกครั้ง แต่ครั้งนี้เขาไม่อยากเสียเวลาจากการกรอกตัวเลขซ้ำๆ ทศนิยมหลายๆ หลัก จึงใช้ตัวเลขที่ได้บันทึกไว้ลงในแบบจำลองมาใช้อีกรอบและตัดเศษทศนิยมทิ้งไปให้เป็นตัวเลขสั้นๆ จาก 0.506127 เป็น 0.506 เพื่อให้คำนวณได้เร็วขึ้น ซึ่ง 0.000127 เป็นตัวเลขที่น้อยมากเพียงแค่หนึ่งในหมื่นเท่านั้นเอง แต่พอกลับไปดูผลการจำลองสภาพอากาศ ปรากฏว่าสภาพอากาศที่ออกมาครั้งแรกกับครั้งที่สองแตกต่างกันมากๆแบบสุดขั้วเลยครับ แบบไม่น่าเกิดจากการปัดเลขหนึ่งในหมื่นทิ้งไปอะครับ


อ่านมาถึงตอนนี้ หลายๆคนคงจะพอเข้าใจเกี่ยวกับทฤษฎีนี้แล้วนะครับ เอาล่ะ ในเมื่ออธิบายด้านวิทยาศาสตร์ไปแล้ว ลองมาดูด้านของคณิตศาสตร์กันบ้างดีกว่าครับ ครูท่านหนึ่งที่ประเทศญี่ปุ่นติดสมการไว้หน้าห้องเรียน โดยเป็นการเปรียบเทียบการยกกำลังของเลข 2 จำนวน นั่นก็คือ 1.01 กับ 0.99


เลขสองจำนวนนี้ มีความแตกต่างกันเพียงแค่ 0.02 เท่านั้น แต่ผลลัพธ์ที่ได้มานั้นกลับแตกต่างกันลิบลับ

จากทฤษฎีนี้ แสดงให้เห็นว่า สิ่งต่างๆที่เราไม่คิดว่าจะมีผลอะไร แต่ในวันใดวันหนึ่งมันอาจจะส่งผลต่อชิวิตเราอย่างใหญ่หลวงก็ได้ เพราะฉนั้นเวลาจะคิดหรือทำอะไรก็ขอให้รอบคอบกันให้มากๆด้วยนะครับ เพื่อลดความเสี่ยงของผลกระทบต่างๆในอนาคต


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น