วันอาทิตย์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

มิติควอนตัม (Quantum Realm)

คำเตือนนนนนนนน : บทความนี้มีเนื้อหาสปอยล์ Ant-Man หากใครยังไม่ได้ดูแล้วยังไม่อยากถูกสปอลย์จงเลื่อนเมาส์ไปกดปุ่มตรงขวาบนโดยด่วนนนนนน



เมื่อวันพุธที่ผ่านมาผมและเพื่อนๆก็ได้ไปดูภาพยนตร์เรื่อง Ant-Man มา ซึ่งเป็นหนังซุปเปอร์ฮีโรที่โคตรของความมุ้งมิ้งเลยฮะ หนังซุปเปอร์ฮีโรเรื่องอื่นๆสู้กันตึกถล่ม เมืองเละ โลกระเบิด แต่เรื่องนี้สู้กันแค่ของเล่นเด็กพัง



ซึ่งประเด็นที่ผมจะพูดนั้น เป็นฉากที่ Scott Lang (Ant-Man) ต้องเข้าไปในชุดของ Darren Cross (Yellow-Jacket) เพื่อปกป้องลูกสาวของเขา แต่ชุดของ Yellow-Jacket ทำจากไทเทเนียม Scott Lang จึงต้องใช้วิธีรบกวนสมดุลของชุด เพื่อที่จะทำให้ตัวของเขาสามารถย่อตัวให้เล็กจงจนเล็กกว่าอะตอมได้


ซึ่งในฉากนี้เเหละครับ เป็นฉากที่ Scott Lang ถูกย่อส่วนไปเรื่อยๆ จนเข้าไปใน มิติควอนตัม (Quantum Realm) โดยในหนัง Hank Pym ได้อธิบายให้ Scott Lang ฟังว่า คือมิติที่เวลาไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง ซึ่งมิติควอนตัมมีชื่อเรียงอย่างเป็นทางการจากท่างมาร์เวลว่า "Microverse"


แต่ในทางวิทยาศาสตร์ก็ได้มีการอธิบายเกี่ยวกับมิติควอนตัม ว่าเป็นมิติของโลกคู่ขนาน ซึ่งมีการอธิบายไว้ในบทความของ ASTV เรื่อง เผยเรื่องจริง “โลกคู่ขนาน” และ “มิติ” ที่ขดซ่อนตัว และ บทความของ วิชาการ.คอม เรื่อง เอกภพ คู่ขนาน (Parallel Universe) แล้วนะครับ


สำหรับใน week นี้ผมขอลาไปก่อยกับ Easter Egg ของเรื่อง Ant-Man ละกันนะคนับ... 


วันอาทิตย์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ไม่อยู่นะคนับ....


เนื่องจากวันที่17-20 กรกฎาคม ผมไปค่าย JPC ที่คณะ SIT บางมด ก็เลยไม่ว่างมาอัพบล็อค เดี๋ยวกลับมาแล้วจะมาเล่าประสบการณ์ที่ได้จากค่ายนี้กันคนับ ... ขอบคุณครับ


วันอาทิตย์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ทฤษฎีหงส์ดำ (Black swan theory)

ช่วงเย็นวันอาทิตย์ ในขณะที่ผมกำลังปวดหัวอยู่ว่าจะเอาอะไรไปยัดลงบล็อคของอาทิตย์นี้ดี ผมก็เลยเปิด Youtube หาแรงบันดาลใจตามแชนเเนลวิทย์ไปเรื่อยๆ ผมก็ได้มาสะดุดกับคลิปของเเชนเนล Veritasium ที่ผมเคยเอาคลิปของเเชนเเนลนี้มาลง เรื่อง กิ้งก่าคาเมเลี่ยนเปลี่ยนสีได้อย่างไร ซึ่งคลิปนี้ ไม่ได้เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์โดยตรง แต่เกี่ยวข้องกับจิตวิทยา ที่ว่าด้วยเรื่องของ ทฤษฎีหงส์ดำ พล่ามมาเยอะตั้งแล้ว เราไปดูคลิปที่ว่ากันเลยดีกว่าคนับ...


ซึ่ง ทฤษฏีหงส์ดำที่กล่าวไว้ในคลิปนั้น เป็นชื่อทฤษฎีทางอนาคตศึกษาซึ่งดังระเบิดเถิดเทิงของนาย Nicholas Nazim Taleb ออกหนังสือชื่อ "The Black Swan: The Impact of the Highly Improbable" เป็นหนังสือ Bestseller เล่มหนึ่งในสหรัฐอเมริกา ซึ่งสรุปคร่าวๆได้ว่า


มีภาษิตโบราณของตะวันตกกล่าวไว้ว่า "All Swans Are White" หรือ "หงส์ทุกตัวเป็นสีขาว!!" 
อ้าววววว แสดงว่าเมื่อก่อน เราไม่เคยรู้จักหงส์ดำกันหรอ ? 
คำตอบคือ ใช่ครับ เพราะ "หงส์ดำ" เพิ่งจะถูกค้นพบในทวีปออสเตรเลีย ในศตวรรษที่ 17 หรือ 400 กว่าปีที่แล้ว (ตรงกับสมัยอยุธยาตอนกลาง) เอง
ก็เลยกลายเป็นที่ฮือฮาครับ เพราะไม่เคยเห็นหงส์ดำกันมาก่อน ซึ่งหมายความว่า ความเชื่อที่เชื่อกันว่า "หงส์ต้องเป็นสีขาว" เป็นความเชื่อที่ผิดมาตลอด ผิดอย่างสิ้นเชิงเลยครับ



พูดง่ายๆก็คือ ความรู้เก่าๆ รวมทั้งสิ่งที่เกิดขึ้นมาก่อนแล้วนั้น อย่าเพิ่งด่วนสรุปหรือรีบร้อนเชื่อเร็วเกินไป เพราะอาจไม่เป็นประโยชน์ที่จะนำมาใช้สามารถพยากรณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้สิ่งที่ไม่เคยเห็น ไม่ได้แปลว่าจะไม่มีจริง สิ่งที่มองเห็น อาจเป็นผลที่เกิดขึ้นจากปัจจัยอื่นที่เราคิดไม่ถึง มองไม่เห็น บ่อยครั้งไม่รู้ด้วยซ้ำว่ามันมีอยู่จริงๆ

ผมจะขอยกประโยคหนึ่ง ซึ่งผมได้มาจากเพื่อนของผมที่ชื่อว่า ปุ้นนะครับ ปล.มันไปก็อปเขามา
"การพบเห็นหงส์สีขาวถึงหนึ่งพันครั้ง ไม่ได้เป็นข้อสรุปว่าหงส์สีดำไม่มีอยู่จริง เพราะการพบเห็นหงส์สีดำเพียงครั้งเดียวจะทำลายข้อสรุปนั้นในทันที"

 มีตัวเลขทางสถิติชี้ให้เห็นว่า มีเพียงโอกาส 1 ครั้งในรอบพันปีเท่านั้นที่ตลาดหุ้นจะเจอวิกฤตและถล่มอย่างหนัก แต่ในความเป็นจริง มันถล่มมามากกว่า 1 ครั้งในรอบร้อยปี
 (เป็นเพียงตัวเลขสมมติเฉยๆ จำเลขทางสถิติเป๊ะๆไม่ได้ แต่หลักการนี้แหละ)
 การที่เรายังไม่เคยเจอรักแท้ ก็ไม่ได้หมายความว่ารักแท้มันไม่มีอยู่จริง เพราะการเจอรักแท้เพียงครั้งเดียว จะทำให้เราเข้าใจคุณค่าของการเฝ้ารอมาตลอดชีวิต


ลาไปก่อยกับภาพยนตร์เเนว ดรามา ทริลเลอร์ เรื่อง Black Swan (2010) ซึ่งบอกได้เลยว่า "หลอนมากกก" อย่าลืมไปหามาดูกันให้ได้นะคนับ...

วันอาทิตย์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

อธิกวินาที ?

วันพุธที่ 1 กรกฎาคม ที่ผ่านมา วันธรรมดาๆวันหนึ่ง ที่ไม่ธรรมดา ไม่ใช่เพราะเป็นวันสภาปนาลูกเสือแห่งชาติ หรือเป็นวันชาติแคนาดา แต่เพราะเป็นวันที่ชาวโลกจะได้รับเวลาเพิ่มขึ้นมาฟรีๆ มาอีกตั้ง 1 วินาที โดยเราเรียกเวลาวินาทีที่เพิ่มมานี้ว่า "อธิกวินาที"



อธิกวินาที(leap second) คือ วินาทีที่ปรับเพิ่มขึ้นหรือลดลง เพื่อรักษามาตรฐานการประกาศเวลาให้ใกล้เคียงกับเวลาสุริยะ (UT1) โดยเฉลี่ย  การปรับอธิกวินาทีปัจจุบันควบคุมโดย International Earth Rotation and Reference Systems Service (IERS) 



ซึ่งบนโลกของเรามีนาฬิกาอยู่ 2 ระบบ คือ เวลาจากนาฬิกาอะตอม(TAI-Temps Atomique International) ที่ใช้หลักการแผ่รังสีของอะตอมซีเซียม อันเป็นคำนิยามของเวลา 1 วินาที ซึ่งเป็น 1 ใน 7 หน่วยฐานของระบบ SI ด้วย ความแม่นยำมีสูงมากนั่นคือในเวลา 200 ล้านปีจะคลาดเคลื่อนไม่ถึง 1 วิ



อีกระบบนึงคือเวลาสากล (UT-Universal Time) ที่ใช้อ้างอิงเวลาจากการหมุนรอบตัวเองของโลก โดยในหนึ่งวันจะมี 24 ชั่วโมง หรือ 86400 วินาที ซึ่งข้อดีของเวลานี้คือสังเกตง่าย เพราะมีตำแหน่งดวงอาทิตย์เป็นตัวสังเกต



แต่ว่าระยะหลังๆโลกหมุนรอบตัวเองช้าลง ทั้งจากแรงไทดัลกับดวงจันทร์ หรือแรงจากในโลกเองอย่างแผ่นดินไหว ส่งผลให้ในหนึ่งวันมีเวลาเฉลี่ยเพิ่มขึ้นราวๆ 2 millisecond หรือ 0.002 วินาที ซึ่งหากเป็นคนปกติมันน้อยมากจนแทบไม่มีความจำเป็นต้องใส่ใจ แต่หากเวลาเล็กน้อยนี่สะสมเรื่อยๆ ซักปีนึง เราก็จะได้เวลาเพิ่มมาราวๆ 0.7 วินาที



ด้วยสาเหตุนี้เอง เวลาสากลจึงช้ากว่าเวลาอะตอมเรื่อยๆ เพื่อให้เวลาในนาฬิกาทั้งสองตรงกัน จึงต้องทำวินาทีพิเศษหรือ Leap Second ขึ้นมาโดยจะทำการเพิ่มเวลาอีก 1 วิ เพื่อให้ความแตกต่างระหว่างทั้งสองนาฬิกาใกล้ 0 มากที่สุด โดยจะปรับในช่วงเวลากลางปี 30 มิถุนายน หรือปลายปี 31 ธันวาคมเท่านั้น



ในครั้งนี้จะทดเพิ่มในวันที่ 30 มิถุนายน 2015 ที่เวลาเที่ยงคืนของเวลาสากล(UT) คือ 23.59.60 ซึ่งจะปรับพร้อมกันทั่วโลก ดังนั้นในประเทศไทยจะปรับตอน 6.59.60 ในวันที่ 1 กรกฎาคม (+7 ชั่วโมง)



การปรับอธิกวินาที เกิดครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2515 และครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ 26 ในประวัติศาสตร์โลก ซึ่งหมายความว่า โลกได้หมุนช้าลง 26 วินาทีแล้ว



หลายๆคนอาจคิดว่า โว๊ะะะ ก็แค่ 1 วิ จะไปมีปัญหาอะไรกับชีวิตมากมายขนาดนั้นเลยหรือ อาจจะไม่ได้มีผลโดยตรงกับทุกคน แต่มีผลกับระบบคอมพิวเตอร์ ที่ไม่ได้ทำมาเพื่อรองรับระบบ leap second ถ้าเวลาไม่เพี้ยนก็จะ Error ไปเลย ซึ่งได้เกิดเหตุการณ์นี้เมื่อปี พ.ศ.2555 ทำให้บริการ Mozilla, Reddit, Foursquare, Yelp, LinkdIn เคยเกิดปัญหา แต่ปัจจุบัน พวกบริการต่างๆก็เตรียมการไว้อยู่แล้ว และบริการที่จะได้รับผลกระทบ ก็มีไม่มาก ระบบคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่ก็ใช้ Network Time Protocol คือ เวลาจะ sync กันกับ atomic clock อยู่แล้ว ก็ต้องมาดูกันว่าหลังปรับแล้ว บริการต่างๆ ด้านคอมพิวเตอร์จะได้รับผลกระทบหรือเปล่า

ลากันไปก่อยด้วยฉาก ของ Quick Silver กับเพลงประกอบ Time in a bottle จากเรื่อง X-men : Days of Future Past ละกันนะคนับ...