วันอาทิตย์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2558

สีรุ้ง สีรุ้งเต็มไปหมดเบยยย



เมื่อช่วงวันเสาร์ อาทิตที่ผ่านมา ได้เกิดกระแสการเปลี่ยนรูปโปรไฟล์เป็นสีรุ้ง พร้อมกับข้อความว่า Created with facebook.com/celebratepride สำหรับบางคนอาจจะยังไม่รู้ว่ามันคืออะไร วันนี้เราจะมาหาคำตอบกันครับ

ขอขอบคุณรูปภาพจากเพจ : POLANDBALL

โดยในวันศุกร์ที่ 26 มิถุนายน 2558 ที่ผ่านมาศาลสูงของทางสหรัฐอเมริกาได้มีการตัดสิน อนุญาตให้คู่รักเพศเดียวกันสามารถแต่งงานกันได้แล้ว นับเป็นก้าวสำคัญในการเปิดเสรีทางความรักของคนทุกกลุ่ม ไม่เพียงเฉพาะคู่รักหนุ่ม-สาว หากแต่รวมถึงกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBT) ด้วย


ขอขอบคุณรูปภาพจากเพจ : POLANDBALL


สำหรับ LGBT มีที่มาจากอักษรตัวแรกของคำว่า lesbian (เลสเบี้ยน), gay (เกย์), bisexual (ไบเซ็กชวล) และ transgender/transsexual (คนข้ามเพศ) ที่ได้รวมตัวกันเป็นหนึ่งภายใต้คำชื่อกลุ่ม LGBT สะท้อนถึงความหลากหลายทางเพศและการแสดงออกทางเพศในสังคม ซึ่งคำว่า LGBT มิได้หมายถึงเฉพาะกลุ่มคนรักร่วมเพศเท่านั้น แต่ยังรวมถึงเพศทางเลือกอื่น ๆ อย่างเลสเบี้ยน เกย์ ไบเซ็กชวล และคนข้ามเพศ 



ทั้งนี้สำหรับ "สีรุ้ง" สีสันแห่งความหลากหลายได้ถูกนำมาใช้เป็นสัญลักษณ์ของกลุ่ม LGBT รวมถึงการเคลื่อนไหวต่าง ๆ ของกลุ่มมานานกว่า 37 ปี ธงสีรุ้งซึ่งได้รับการออกแบบโดย กิลเบิร์ท เบเกอร์ ศิลปินจากซานฟรานซิสโก สหรัฐฯ ถูกนำมาโบกสะบัดขึ้นในการเคลื่อนไหวของกลุ่ม LGBT เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2521 ใน San Francisco Gay Freedom Day Parade ขบวนพาเหรดเพื่อระลึกถึง ฮาร์วีร์ มิลค์ นักการเมืองชาวเกย์ที่ถูกฆาตกรรม  ก่อนนำมาใช้ในกิจกรรมอื่น ๆ อย่างต่อเนื่องและถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายไปทั่วโลก ในฐานะธงแห่งความภาคภูมิใจของ LGBT นอกจากนี้ในบางครั้ง ธงสีรุ้ง ยังถูกนำมาใช้ในฐานะธงแห่งความสงบสุขด้วย


โดยพี่มารค ซัคเคอร์เบิร์ก ผู้ก่อตั้งเฟสบุ๊คก็ได้สร้างฟีเจอร์เล็กๆน้อยๆ เพื่อเป็นการร่วมแสดงฉลองด้วย ผ่านทางแอพพิเศษของเฟซบุ๊กในหน้า celebratepride ซึ่งจะช่วยเปลี่ยนภาพโปรไฟล์ของเราให้เป็นสีรุ้งอัตโนมัติ จึงเป็นที่มาของรูปโปรไฟล์สีรุ้งที่เห็นกันเต็มเฟสบุ๊คนั่นเองครับ

แต่พี่ไทยก็ยังไม่วาย พามาดราม่าจนได้ครับ เมื่อได้มีแอคเคาท์เฟสบุ๊ค แอคเคาท์หนึ่งโพสต์รูปภาพที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนรูปโปรไฟล์เฟสบุ๊ค โดยมีเนื้อหาดังนี้

ขอขอบคุณรูปภาพประกอบจาก : บันทึกของ ตุ๊ด

อาห์ แล้วดราม่านี้จะลงเอยเช่นไร #ผิดๆ



โดยในทวิตเตอร์ ก็ได้มีแอคเคาท์ ทวิตเตอร์ แอคเคาท์หนึ่งชื่อว่า @youdunnowho ได้พูดเกี่ยวกับกฎหมายนี้ได้ดีทีเดียวเลยละครับ ซึ่งบล็อคเกอร์ไม่สามารถลิงค์จากทวิตเตอร์มายังบล็อคได้ ผมก็เลยสรุปเป็นข้อความได้ว่า นอกจากการที่แต่งงานกันถูกต้องตามกฎหมายจะมีผลในทางทรัพย์สินแล้วก็ยังมีผลในด้านการตัดสินใจในการผ่าตัดต่างๆ รวมไปถึงการเซ็นอนุญาติปั๊มหัวใจ หรือแม้แต่เรื่องพินัยกรรมอีกด้วย ในความคิดของผมการอนุญาตกฎหมายนี้ถือเป็นก้าวสำคัญในการเปิดเสรีในด้านต่างๆให้เกิดความเท่าเทียมกันมากขึ้น แล้วคุณละครับ คิดอย่างไรกับกฎหมายนี้ ...

วันอาทิตย์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2558

Programming ?

เรามาพักเรื่องนิติเวชศาสตร์สักอาทิตย์ แล้วมาดูในเรื่องที่โรงเรียนส่วนใหญ่ไม่ได้สอนกันดีกว่าครับ :D


โดยในบทความนี้ ผมจะพูดถึงภาษาที่ถือว่าเป็นพื้นฐานในการเขียนโปรแกรมเลยก็ว่าได้ นั้นก็คือ ภาษา C ครับ 



ภาษา C เป็นภาษาที่ถือว่าเป็นทั้งภาษาระดับสูงและระดับต่ำ ถูกพัฒนาโดยเดนนิส ริดชี (Dennis Ritche) แห่งห้องทดลองเบลล์ (Bell Laboratories) ที่เมอร์รีฮิล มลรัฐนิวเจอร์ซี่ โดยเดนนิสได้ใช้หลักการของภาษา บีซีพีแอล (BCPL : Basic Combine Programming Language) ซึ่งพัฒนาขึ้นโดยเคน ทอมสัน (Ken Tomson) การออกแบบและพัฒนาภาษาซีของเดนนิส ริดชี มีจุดมุ่งหมายให้เป็นภาษาสำหรับใช้เขียนโปรแกรมปฏิบัติการระบบยูนิกซ์ และได้ตั้งชื่อว่า ซี (C) เพราะเห็นว่า ซี (C) เป็นตัวอักษรต่อจากบี (B) ของภาษา BCPL ภาษาซีถือว่าเป็นภาษาระดับสูงและภาษาระดับต่ำ ทั้งนี้เพราะ ภาษาซีมีวิธีใช้ข้อมูลและมีโครงสร้างการควบคุมการทำงานของโปรแกรมเป็นอย่างเดียวกับภาษาของโปรแกรมระดับสูงอื่นๆ จึงถือว่าเป็นภาษาระดับสูง ในด้านที่ถือว่าภาษาซีเป็นภาษาระดับต่ำ เพราะภาษาซีมีวิธีการเข้าถึงในระดับต่ำที่สุดของฮาร์ดแวร์ ความสามารถทั้งสองด้านของภาษานี้เป็นสิ่งที่เกื้อหนุนซึ่งกันและกัน ความสามารถระดับต่ำทำให้ภาษาซีสามารถใช้เฉพาะเครื่องได้ และความสามารถระดับสูง ทำให้ภาษาซีเป็นอิสระจากฮาร์ดแวร์ ภาษาซีสามารถสร้างรหัสภาษาเครื่องซึ่งตรงกับชนิดของข้อมูลนั้นได้เอง ทำให้โปรแกรมที่เขียนด้วยภาษาซีที่เขียนบนเครื่องหนึ่ง สามารถนำไปใช้กับอีกเครื่องหนึ่งได้ ประกอบกับการใช้พอยน์เตอร์ในภาษาซี นับได้ว่าเป็นตัวอย่างที่ดีของการเป็นอิสระจากฮาร์ดแวร์


ในความคิดของผม การเขียนโปรแกรมเป็นสิ่งที่จำเป็นเพราะมันช่วยพัฒนาให้เราเป็นคนที่มีความคิดเป็นระบบ เเละทำมันอย่างเป็นขั้นเป็นตอนอีกด้วย

วันอาทิตย์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2558

นิติเวชศาสตร์ 2

เมื่อวันอังคารที่ผ่านมาผมและเพื่อนๆ ได้ทำการทดลองเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีมาครับ โดยกลุ่มผมจะทำในเรื่องของพื้นที่ผิว วิธีการทดลองก็คือ นำชอลค์ (CaCO3 )ผสมกับกรดเกลือ (HCl) ซึ่งกลุ่มผมได้นำแบ่งชอล์คเป็น 3 ส่วน ส่วนแรกนำไปบดเป็นผง ส่วนที่ 2 หักครึ่ง และส่วนที่ 3 เป็นแท่งเหมือนเดิม แล้วสังเกตจากปริมาณของชอล์คที่ลดลงต่อหนึ่งหน่วยเวลา ผลการทดลองก็เป็นไปตามทฤษฎีครับ โดยชอล์คส่วนแรกที่นำไปบดเป็นผงจนละเอียด ซึ่งเป็นการเพิ่มพื้นที่ผิวให้กับสารตั้งต้น จะปฏิกิริยาได้เกิดเร็วที่สุด ตามมาด้วยส่วนที่ 2 และส่วนที่ 3 และในส่วนของการทดลองความเข้มข้นที่นำ โซเดียมไทโอซัลเฟต (Na2S2O3 ) ผสมกับกรดเกลือ (HCl) ซึ่งผลการทดลองคือ เเก้วที่มีความเข้มข้นมากที่สุด จะทำให้น้ำขุ่นเร็วมากที่สุด ส่งผลให้กากบาทหายไปเป็นอันดับเเรก

ลายนิ้วมือ




เรามาเข้าเรื่องของนิติเวชศาสตร์กันดีกว่าครับ :D เมื่อพูดถึงพื้นที่ผิวกับนิติเวชศาสตร์ ผมก็นึกถึงลายนิ้วมือที่เมื่อเราไปหยิบ จับ สิ่งของต่างๆแล้วติดอยู่กับสิ่งของนั้นๆ ซึ่งแม้จะไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า วิทยาศาสตร์ก็สามารถทำให้เราเห็นได้ครับ


โดยในคลิปมาจากซีรีย์ CSI:Vegas ซีซันที่2 ตอนที่ 20 เกี่ยวกับการตายของหญิงชราในบ้านที่เต็มไปด้วยแมวที่เธอเลี้ยง สาเหตุการตายมาจากการถูกแทงด้วยวัสดุเป็นแท่งยาว ทื่อ ซึ่งก็คือ ปากกาของเด็กที่อยู่ข้างบ้าน เจ้าหน้าที่จึงได้สอบสวนเด็กและอธิบายเกี่ยวกับเรื่องของลายนิ้วมือ

ซึ่งวิธีในการตรวจหาลายนิ้วมือนั้นมีหลากหลายวิธี วิธีที่ใช้กันบ่อยที่สุดก็คือ การใช้ผงฝุ่นเคมี โดยจะนำผงฝุ่นเคมีมาปัดด้วยแปรง เมื่อลายนิ้วมือปรากฏขึ้น ก็นำเทปมาแปะและเก็บเพื่อไปสำรวจหาผลต่อไป



แล้วก็ขอลาไปก่อยกับสารคดีเกี่ยวกับ AFIS หรือ ระบบตรวจสอบลายพิมพ์นิ้วมืออัตโนมัติ ของ KingCountryTV กันนะคนับ...





วันอาทิตย์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2558

นิติเวชศาสตร์ 1

ปัจจุบันวิทยาศาสตร์ได้มีส่วนสำคัญในชีวิตประจำวันของเรา ถ้าเราเคยดูข่าวอาชญากรรม งานทางด้านนิติเวชมีส่วนช่วยในการสืบสวน พิสูจน์หลักฐานอย่างมาก


ลูมินอล (Luminol)




ลูมินอลคือสารที่ถูกคิดค้นเพื่อตรวจสอบรอยเลือด ที่แม้จะถูกเช็ดหรือทำความสะอาดแล้ว สารที่อยู่ในเลือดก็จะยังคงอยู่ โดยสารชนิดนี้จะเข้าไปทำปฏิกิริยากับฮีโมโกลบินในเลือด ทำให้เกิดกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เรียกว่า Chemiluminescence 


นอกจากลูมินอลจะสามารถพิสูจน์ได้ว่ามีรอยเลือดหรือไม่แล้ว ผู้เชี่ยวชาญยังสามารถเห็นรูปร่างและลักษณะการกระจายของรอยเลือด เพื่อวิเคราะห์ว่าเกิดการฆาตกรรมในแบบใด โดยการกระจายของเลือดจากอาวุธต่างชนิดกันก็จะมีลักษณะแตกต่างกัน และในบางกรณีที่ฆาตกรเผลอเหยียบเลือดติดรองเท้าเดินไปไหนมาไหน ลูมินอลก็จะช่วยเผยให้เห็นทิศทางการเคลื่อนที่หรือลำดับขั้นของการฆาตกรรมได้


ตัวอย่างที่จะเห็นชัดคือในซีรีส์สืบสวนสอบสวนชื่อดังอย่าง CSI ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นเพราะมันช่วยทุ่นเวลาในการสืบหาความจริง รวมถึงช่วยให้ตำรวจปะติดปะต่อรูปคดีได้ง่ายขึ้น