เมื่อช่วงวันเสาร์ อาทิตที่ผ่านมา ได้เกิดกระแสการเปลี่ยนรูปโปรไฟล์เป็นสีรุ้ง พร้อมกับข้อความว่า Created with facebook.com/
ขอขอบคุณรูปภาพจากเพจ : POLANDBALL
ขอขอบคุณรูปภาพจากเพจ : POLANDBALL
สำหรับ LGBT มีที่มาจากอักษรตัวแรกของคำว่า lesbian (เลสเบี้ยน), gay (เกย์), bisexual (ไบเซ็กชวล) และ transgender/transsexual (คนข้ามเพศ) ที่ได้รวมตัวกันเป็นหนึ่งภายใต้คำชื่อกลุ่ม LGBT สะท้อนถึงความหลากหลายทางเพศและการแสดงออกทางเพศในสังคม ซึ่งคำว่า LGBT มิได้หมายถึงเฉพาะกลุ่มคนรักร่วมเพศเท่านั้น แต่ยังรวมถึงเพศทางเลือกอื่น ๆ อย่างเลสเบี้ยน เกย์ ไบเซ็กชวล และคนข้ามเพศ
ทั้งนี้สำหรับ "สีรุ้ง" สีสันแห่งความหลากหลายได้ถูกนำมาใช้เป็นสัญลักษณ์ของกลุ่ม LGBT รวมถึงการเคลื่อนไหวต่าง ๆ ของกลุ่มมานานกว่า 37 ปี ธงสีรุ้งซึ่งได้รับการออกแบบโดย กิลเบิร์ท เบเกอร์ ศิลปินจากซานฟรานซิสโก สหรัฐฯ ถูกนำมาโบกสะบัดขึ้นในการเคลื่อนไหวของกลุ่ม LGBT เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2521 ใน San Francisco Gay Freedom Day Parade ขบวนพาเหรดเพื่อระลึกถึง ฮาร์วีร์ มิลค์ นักการเมืองชาวเกย์ที่ถูกฆาตกรรม ก่อนนำมาใช้ในกิจกรรมอื่น ๆ อย่างต่อเนื่องและถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายไปทั่วโลก ในฐานะธงแห่งความภาคภูมิใจของ LGBT นอกจากนี้ในบางครั้ง ธงสีรุ้ง ยังถูกนำมาใช้ในฐานะธงแห่งความสงบสุขด้วย
โดยพี่มารค ซัคเคอร์เบิร์ก ผู้ก่อตั้งเฟสบุ๊คก็ได้สร้างฟีเจอร์เล็กๆน้อยๆ เพื่อเป็นการร่วมแสดงฉลองด้วย ผ่านทางแอพพิเศษของเฟซบุ๊กในหน้า celebratepride ซึ่งจะช่วยเปลี่ยนภาพโปรไฟล์ของเราให้เป็นสีรุ้งอัตโนมัติ จึงเป็นที่มาของรูปโปรไฟล์สีรุ้งที่เห็นกันเต็มเฟสบุ๊คนั่นเองครับ
แต่พี่ไทยก็ยังไม่วาย พามาดราม่าจนได้ครับ เมื่อได้มีแอคเคาท์เฟสบุ๊ค แอคเคาท์หนึ่งโพสต์รูปภาพที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนรูปโปรไฟล์เฟสบุ๊ค โดยมีเนื้อหาดังนี้
ขอขอบคุณรูปภาพประกอบจาก : บันทึกของ ตุ๊ด
อาห์ แล้วดราม่านี้จะลงเอยเช่นไร #ผิดๆ
โดยในทวิตเตอร์ ก็ได้มีแอคเคาท์ ทวิตเตอร์ แอคเคาท์หนึ่งชื่อว่า @youdunnowho ได้พูดเกี่ยวกับกฎหมายนี้ได้ดีทีเดียวเลยละครับ ซึ่งบล็อคเกอร์ไม่สามารถลิงค์จากทวิตเตอร์มายังบล็อคได้ ผมก็เลยสรุปเป็นข้อความได้ว่า นอกจากการที่แต่งงานกันถูกต้องตามกฎหมายจะมีผลในทางทรัพย์สินแล้วก็ยังมีผลในด้านการตัดสินใจในการผ่าตัดต่างๆ รวมไปถึงการเซ็นอนุญาติปั๊มหัวใจ หรือแม้แต่เรื่องพินัยกรรมอีกด้วย ในความคิดของผมการอนุญาตกฎหมายนี้ถือเป็นก้าวสำคัญในการเปิดเสรีในด้านต่างๆให้เกิดความเท่าเทียมกันมากขึ้น แล้วคุณละครับ คิดอย่างไรกับกฎหมายนี้ ...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น