วันอาทิตย์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

กิ้งก่าคาเมเลี่ยนเปลี่ยนสีได้อย่างไร


กิ้งก่าคาเมเลี่ยน (Chameleon) บางคนเรียกคามิเลี่ยน หรือที่บางคนก็เรียกกันว่า กิ้งก่าเขียว เป็นกิ้งก่าสายพันธุ์หนึ่งที่จัดในหมวดสัตว์เลื้อยคลาน ในตระกูลสัตว์ดึกดำบรรพ์ มีขนาดเล็ก ตั้งแต่ 8-12 นิ้ว มีถิ่นกำเนิดในแถบทวีปแอฟริกา โดยเฉพาะในดินแดนมาดากัสการ์ ซึ่งถือเป็นแหล่งอาศัยใหญ่ของ กิ้งก่า คามิเลี่ยน โดยปกติแล้ว กิ้งก่า คามิเลี่ยน จะอาศัยตามหมู่เกาะต่าง ๆ ที่มีสภาพป่าโปร่งที่สมบูรณ์ และมักจะอาศัยอยู่บนต้นไม้ เกาะตามกิ่งไม้ ยอดไม้นิ่ง ๆ ด้วยเท้าที่สามารถเกาะกิ่งก้านของต้นไม้ได้อย่างดี น้อยครั้งที่จะพบเห็น กิ้งก่า คามิเลี่ยน อาศัยตามพื้นดิน นอกเสียจากจะลงมาวางไข่เพื่อขยายพันธุ์ โดยจะใช้เท้าขุดดินลงไปให้ลึกพอสมควร แล้วจึงวางไข่ลงไปในนั้น จนสุดท้ายก็กลบปากรูเอาไว้ และกลับขึ้นมาอาศัยอยู่บนต้นไม้ตามเดิม




ในอดีต นักวิทยาศาสตร์เข้าใจว่าสาเหตุที่กิ้งก่าคาเมเลี่ยนสามารถเปลี้ยนสีผิวได้นั้น มาจากการที่ผิวของกิ้งก่ามีหลายชั้นแต่ละชั้นจะมีเซลล์สีที่ต่างกัน อย่างสีน้ำเงิน สีเหลือง สีแดง ชั้นในสุดมีเซลล์สีดำ เมื่อเซลล์ประสาทขยายตัวและหดตัวเซลล์สีแต่ละชั้นก็จะสลับชั้นกัน เซลล์สีที่อยู่ใกล้ผิวหนังที่สุดก็จะแสดงออกมาทางผิวหนังทำให้กิ้งก่าเปลี่ยนเป็นสีต่างๆ ได้





แต่เมื่อไม่นานมานี้ในวันที่ 11 มีนาคม 2558 เว็ปไซต์บีบีซีได้รายงานผลงานการค้นพบใหม่ล่าสุดของนักวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับปรากฏการณ์ธรรมชาติ "กิ้งก่าที่เปลี่ยนสี" ว่าจริงๆแล้วสิ่งที่ทำให้กิ้งก่าสามารถเปลี่ยนสีได้นั้นคือการจัดเรียงของคริสตัลที่เป็นองค์ประกอบภายในเซลล์





วันอาทิตย์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ปจจัยที่มีผลตออัตราการเกิดปฏิกิริยา

ธรรมชาติของสารตั้งตน


สารแต่ละชนิดจะมีสมบัติในการทำปฏิกิริยาแตกต่างกัน เช่น ลักษณะโครงสร้างของโมเลกุล ลักษณะการสลายพันธะ

ตัวอย่าง
โซเดียม (Na) จะทำปฏิกิริยากับน้ำได้เร็ว และเกิดปฏิกิริยารุนแรงกว่า
แมกนีเซียม (Mg) ซึ่งทำปฏิกิริยากับน้ำได้ช้ากว่า



ความเข้มข้นของสารตั้งต้น


ปฏิกิริยาเคมีโดยทั่วไป อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีมักขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของสารตั้งต้นที่เข้าทำปฏิกิริยา เช่น ปฏิกิริยาระหว่างโลหะกับกรด ถ้าเริ่มต้นใช้กรดที่มีความเข้มข้นสูงจะเกิดการกัดกร่อนโลหะได้เร็วกว่ากรดที่มีความเข้มข้นต่ำ 



แต่มีปฏิกิริยาบางชนิดที่อัตราการเกิดปฏิกิริยาไม่ขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของสารตั้งต้นเลย กล่าวคือไม่ว่าจะเปลี่ยนความเข้มข้นของสารตั้งต้นอย่างไร อัตราการเกิดปฏิกิริยา
คงที่เสมอ เช่น ปฏิกิริยาการกำจัดแอลกอฮอล์ในเลือดของคน อัตราการสลายตัวของแอลกอฮอล์ในร่างกายจะคงที่ไม่ว่าปริมาณของแอลกอฮอล์ในเลือดจะมากหรือน้อยเพียงใดก็ตาม

พื้นที่ผิวของสารตั้งต้น


พื้นที่ผิวของสารตั้งต้นจะมีอิทธิพลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีก็ต่อเมื่อปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นนั้นเป็น
ปฏิกิริยาเคมีแบบเนื้อผสมที่มีสารตั้งต้นเป็นของแข็งร่วมอยู่ด้วย เช่น การเคี้ยวอาหารให้ละเอียดก่อนกลืนเพื่อเป็นการเพิ่มพื้นที่ผิวให้ย่อยได้ง่ายขึ้น การเกิดปฏิกิริยาระหว่างสารกลุ่มคาร์บอเนตกับกรด



อุณหภูมิ


ปฏิกิริยาเคมีต่างๆ อัตราการเกิดปฏิกิริยาจะเพิ่มขึ้นเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น เช่น การบ่มผลไม้ในภาชนะ
ที่มีฝาปิด จะสุกเร็วกว่าการไว้ข้างนอก หรือการเก็บอาหาร ถ้าเก็บไว้ในตู้เย็นจะเสียช้ากว่าเก็บไว้ข้างนอก การเรืองแสงของ Glow stick ที่มากขึ้นเมื่อนำไปแช่ในน้ำร้อน และน้อยลงเมื่อนำไปแช่ในน้ำเย็น


ความดัน


ความดันจะมีผลตอปฏิกิริยาในกรณีปฏิกิริยาที่เกี่ยวกับกาซ กลาวคือเมื่อ เพิ่มความดันโมเลกุลของกาซจะชนกันมากขึ้นปฏิกิริยาจะมีอัตราการเกิดปฏิกิริยาเร็วขึ้น


ตัวเร่งปฏิกิริยาและตัวหน่วงปฏิกิริยา


ตัวเร่งปฏิกิริยา (Catalyst)


สารที่เติมลงไปในปฏิกิริยาแล้ว ทำให้ปฏิกิริยาเกิดได้เร็วขึ้น หรือทำให้อัตราการเกิดปฏิกิริยาเกิดได้เพิ่มขึ้น โดยที่ตัวเร่งปฏิกิริยาอาจจะมีส่วนร่วมในการเกิดปฏิกิริยาหรือไม่ก็ได้ แต่เมื่อสิ้นสุดปฏิกิริยา ตัวเร่งปฏิกิริยาเหล่านี้จะต้องมีปริมาณเท่าเดิมและมีสมบัติเหมือนเดิม ตัวอย่างของตัวเร่งปฏิกิริยาที่ใกล้ตัวเราที่สุดได้แก่  เอนไซม์ในร่างกาย  เช่น  อะไมเลสในน้ำตาลที่ใช้ย่อยแป้ง หรือเพปซินในกระเพาะอาหารที่ใช้ย่อยโปรตีน




ตัวหน่วงปฏิกิริยา (Inhibiter)


คือ สารที่เติมลงไปในปฏิกิริยาแล้วทำให้ปฏิกิริยาเกิดช้าลง หรือทำให้อัตราการเกิดปฏิกิริยาช้าลง และเมื่อสิ้นสุดปฏิกิริยา ตัวหน่วงปฏิกิริยาจะกลับคืนมาเหมือนเดิมและมีมวลคงที่ แต่สมบัติทางกายภาพเปลี่ยนแปลงไป เช่น ขนาด รูปร่าง ตัวอย่างที่พบในชีวิตประจำวัน เช่น การเติมวิตามินอี หรือสาร B.H.T. ลงไปในน้ำมันพืชเพื่อป้องกันการเหม็นหืน การเติมโซเดียมเบนโซเอตลงในอาหารสำเร็จรูปเพื่อป้องกันการบูดเน่าของอาหาร