สำหรับที่มาของชื่อ Butterfly Effect จริงๆแล้วนั้น ไม่ได้มาจากผีเสื้อกระพือปีก "พับ พับ พับ" แล้วเกิดเป็นพายุทอร์นาโดแบบรูปข้างบนหรอกครับ แต่หมายถึงสมการคำนวณทางคณิตศาสตร์ ของศาสตราจารย์ Edward N. Lorenz ที่แสดงผลเป็นกราฟรูปผีเสื้อนั่นเองครับ
ซึ่งนายเอ็ดเวิร์ดเนี่ย เขาเป็นนักคณิตศาสตร์กับนักอุตอนิยมวิทยาครับ โดยความบังเอิญก็คือเขาได้ออกแบบและจำลองคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในการพยากรณ์อากาศ เมื่อปี ค.ศ.1961 เวลาจะคำนวณข้อมูลเพื่อพยากรณ์อากาศ เขาจะต้องกรอกตัวเลขเพื่อคำนวณ เมื่อเขาต้องการดูผลพยากรณ์ซ้ำ จึงต้องคำนวณอีกครั้ง แต่ครั้งนี้เขาไม่อยากเสียเวลาจากการกรอกตัวเลขซ้ำๆ ทศนิยมหลายๆ หลัก จึงใช้ตัวเลขที่ได้บันทึกไว้ลงในแบบจำลองมาใช้อีกรอบและตัดเศษทศนิยมทิ้งไปให้เป็นตัวเลขสั้นๆ จาก 0.506127 เป็น 0.506 เพื่อให้คำนวณได้เร็วขึ้น ซึ่ง 0.000127 เป็นตัวเลขที่น้อยมากเพียงแค่หนึ่งในหมื่นเท่านั้นเอง แต่พอกลับไปดูผลการจำลองสภาพอากาศ ปรากฏว่าสภาพอากาศที่ออกมาครั้งแรกกับครั้งที่สองแตกต่างกันมากๆแบบสุดขั้วเลยครับ แบบไม่น่าเกิดจากการปัดเลขหนึ่งในหมื่นทิ้งไปอะครับ
อ่านมาถึงตอนนี้ หลายๆคนคงจะพอเข้าใจเกี่ยวกับทฤษฎีนี้แล้วนะครับ เอาล่ะ ในเมื่ออธิบายด้านวิทยาศาสตร์ไปแล้ว ลองมาดูด้านของคณิตศาสตร์กันบ้างดีกว่าครับ ครูท่านหนึ่งที่ประเทศญี่ปุ่นติดสมการไว้หน้าห้องเรียน โดยเป็นการเปรียบเทียบการยกกำลังของเลข 2 จำนวน นั่นก็คือ 1.01 กับ 0.99
เลขสองจำนวนนี้ มีความแตกต่างกันเพียงแค่ 0.02 เท่านั้น แต่ผลลัพธ์ที่ได้มานั้นกลับแตกต่างกันลิบลับ
จากทฤษฎีนี้ แสดงให้เห็นว่า สิ่งต่างๆที่เราไม่คิดว่าจะมีผลอะไร แต่ในวันใดวันหนึ่งมันอาจจะส่งผลต่อชิวิตเราอย่างใหญ่หลวงก็ได้ เพราะฉนั้นเวลาจะคิดหรือทำอะไรก็ขอให้รอบคอบกันให้มากๆด้วยนะครับ เพื่อลดความเสี่ยงของผลกระทบต่างๆในอนาคต